กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชน
รหัสโครงการ L63-5258-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมมุสลิมบ้านละโอน
วันที่อนุมัติ 26 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 ธันวาคม 2562 - 19 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 19 มกราคม 2563
งบประมาณ 27,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาหวัง ดอเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน

ประชาชนปลูกและใช้พืชสมุนไพรไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของครัวเรือน

40.00
2 สนับสนุนให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพรไทยในชุมชน บ้านละโอน ตำบลบ้านโหนด

เกิดแหล่งเรียนรู้ “ศูนย์สมุนไพรไทยในชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จำนวน 1 แห่ง

1.00
3 สร้างกระบวนการจัดการประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเอง

ผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยใช้ในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ชนิด

10.00
4 สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการพืชสมุนไพรไทยและส่งเสริมสุขภาวะตนเอง ครอบครัว ชุมชน ในบ้านละโอน ตำบลบ้านโหนด ที่สอดคล้องกับศักยภาพและทุนทางสังคม

มีคณะกรรมการบริหารโครงการครอบคลุมทั้งภาครัฐ ภาคประชาชนและภาควิชาการ จำนวน 1 คณะ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 27,300.00 0 0.00
18 - 19 ธ.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 27,300.00 -

ขั้นตอนเตรียมการ - ประชุม กลุ่ม อสม. บ้านละโอน ตำบลบ้านโหนด หน่วยงานรับผิดชอบ ฯลฯ - วางแผนการดำเนินงานและจัดทำโครงการ ฯ - ประสานวิทยากร ขั้นตอนการดำเนินการ - จัดการฝึกอาชีพให้แก่สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย
- ติดตามการนำความรู้ไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ประชาชนในพื้นที่บ้านละโอน ตำบลบ้านโหนดได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้มรสุขภาพดีถ้วนหน้า ๒ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้แก่กลุ่มอาชีพขององค์กร หน่วยงาน ในพื้นที่บ้านละโอน  ตำบลบ้านโหนด ให้มีสุขภาพดี ๓ สามารถนำวัตถุดิบในท้องถิ่นใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด 4 เพื่อให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและกลุ่ม 5 ประชาชนในพื้นที่บ้านละโอน ตำบลบ้านโหนด มีการสร้างเครือข่ายอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2563 10:30 น.