กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนปลอดยะ (Zero Waste School) โรงเรียนวัดบ่วงช้าง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดบ่วงช้าง
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาคม เส้งเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.507,100.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 89 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ
2.00
2 นักเรียน ครู และชุมชน ขาดจิตสำนุึกในการจัดการขยะ
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนวัดบ่วงช้าง หมู่ที่ 9 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียน อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคเช่นแมลงวันแมลงสาบยุงฯลฯเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อมเกิดสภาพไม่น่าดูสกปรกน่ารังเกียจขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากเกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียนและประชาชน พระราชบัญญัติการสาธารณสุขให้ความหมายว่าขยะมูลฝอยคือเศษกระดาษเศษผ้าเศษอาหารเศษสินค้าถุงพลาสติกภาชนะใส่อาหารมูลสัตว์เถ้าหรือซากสัตว์รวมถึงสิ่งอื่นสิ่งใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นๆ องค์การอนามัยโลก(World Health Organization: WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่าคือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้วมีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วและถูกทิ้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัดจัดเก็บและขนส่งนั่นหมายความว่าสิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้านถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะจากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะดังเช่น“พอเพียง = enough” “ขยะคือทรัพยากร” การใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเห็นคุณค่าบวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้านเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดและจากที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1
โรงเรียนวัดบ่วงช้างมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 89 คน ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา 11 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะรวมทั้งต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ “โรงเรียนปลอดขยะ” ขึ้นทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกการลดคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียนการรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องสร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 89 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

1.  ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรและนักเรียนทุกคนมีความตระหนักในเรื่องขยะสามารถแยกขยะมูลฝอยได้
2.  มีอุปกรณ์และสถานที่รองรับขยะที่เพียงพอ 3.  ปริมาณขยะลดลง

89.00
2 2 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

1.  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

89.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 89 10,000.00 0 0.00
27 ธ.ค. 62 กิจกรรมการให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะ 89 4,800.00 -
27 ธ.ค. 62 - 18 มี.ค. 63 กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์รองรับขยะ 0 5,200.00 -

1.) กิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะ โดยวิทยากรจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง(Offices For Natural Resources And Environment Phatthalung) มีการจัดทำป้ายนิเทศเผยแพร่ความรู้ และฐานการเรียนรู้ขยะบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้แก่ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และเดินรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน (วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.) 2.) กิจกรรมเสียงตามสายให้ความรู้แก่ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน 3.) กิจกรรมแยกขยะจากห้องเรียน -ขยะกระดาษ -ขยะพลาสติก -ขยะทั่วไป -ขยะอันตราย 4.)กิจกรรมการลด การใช้ซ้ำ และคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs)     4.1 กิจกรรมลดขยะอินทรีย์ลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดการใช้ที่ฟุ่มเฟือย - กิจกรรมกินอาหารให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร       -ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่ใช้งานและเปิดเฉพาะจุดที่ใช้ - ปิดคอมพิวเตอร์และพัดลมเมื่อไม่ใช้งาน           - กินอาหารให้หมดจาน           - งดการใช้กล่องโฟม           - หลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียว           - ใช้ถุงผ้า   4.2 กิจกรรมการใช้ซ้ำ -การใช้แก้วน้ำส่วนตัว -การใช้จานใส่อาหารแทนถุงพลาสติกและโฟม -การใช้กระดาษสองหน้า     4.3กิจกรรมนำขยะกลับมาใช้ใหม่ - ผลิตปุ๋ยชีวภาพ
- ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ/ประกวด 6.) กิจกรรมธนาคารขยะ/ฐานการเรียนรู้ขยะบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - การคัดแยกขยะ - รับซื้อขายขยะจากห้องเรียน 7.) กิจกรรมคัดแยกขยะ - ขยะเปียก - ขยะรีไซเคิล - ขยะทั่วไป - ขยะอันตราย 5.3.7 ติดตามและประเมินผลกิจกรรม 5.3.8 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืน

  2. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

  3. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2563 10:48 น.