กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใสปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5224-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแตระ
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุนิสา พูนสง
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิเชษฐ์ สุขทร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.766,100.358place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อปกป้องสุขภาพเกษตรกรให้ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ประชาชนได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษาในปี 2554 และส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านล้างสารพิษในร่างกาย ขณะนี้มีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ 13 ล้านกว่าคน ส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยพิษสะสมในร่างกายแสดงอาการภายหลังที่อันตรายที่สุดคือโรคมะเร็ง สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3 ทางคือทางปาก การหายใจสูดสารเคมีขณะฉีดพ่น และจากการสัมผัส สารเคมีที่ใช้มากที่สุดคือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ร้อยละ 58 รองลงมาคือ กลุ่มพาราควอทร้อยละ 31 และกลุ่มคาร์บาเมต  ร้อยละ 22 ในปี 2553 มีการนำเข้าสารเคมี 118,151 ล้านตัน ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค โดยผลการตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้สดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2553 พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ร้อยละ 28 โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข  ( อสม.) ค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและตรวจเลือดโดยใช้ชุดตรวจสารพิษในเลือดภาคสนาม หากพบว่าเกษตรกรมีสารพิษในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ถอนพิษ พื้นที่ หมู่ 1-6ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งมีการใช้สารเคมี  ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยตรง ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีที่ถูกวิธี และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยในปี  2563ทำโครงการนำร่องในพื้นที่พื้นที่ หมู่ 1-6ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเกษตรกรซึ่งมีความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและมีความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ ให้ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีความเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกลุ่มเสี่ยงให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้การเลือกซื้อผัก

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ60.

0.00
2 เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืช

เกษตรได้ทราบผลการเมินความเสี่ยงของตนเอง.

0.00
3 เพื่อให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรที่มีผลการประเมินพบว่า

เกษตรกรมีผลเลือดดีขึ้นร้อยละ60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1…. จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส
2…..ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3…..จัดกิจกรรมรณรงค์โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส …-…รณรงค์เจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเลส 4.…ติดตามประเมินผลโครงการ 5….ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1…. เกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างถูกต้อง 2… เกษตรรู้ว่าตัวเองมีผลเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่………………………………………………………………………. 3…เกษตรกรสามารถป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 10:18 น.