โครงการ/กิจกรรมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ประจำปี 2563
ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี
ครั้งที่ 2 / 2563
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี
ผู้มาประชุม
ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง ลายมือชื่อ หมายเหตุ
1 นายราเสด พรหมาด ประธาน ราเสด พรหมาด
2 นายไพรินทร์ แก้วทองมา กรรมการ ไพรินทร์ แก้วทองมา
3 นายนพดล ตาลักษณะ กรรมการ นพดล ตาลักษณะ
4 น.ส.มีณา พรหมาด กรรมการ มีณา พหมาด
5 น.ส.นวิยา หมาดตา กรรมการ นวิยา หมาดตา
6 นายยุสุบ สันหมุด กรรมการ ยุสุบ สันหมุด
7 นายราวี มนูดาหวี กรรมการ ราวี มนูดาหวี
8 นายทรงพล สารบัญ กรรมการ/.เลขาฯ ทรงพล สารบัญ
9 นางมณฑา อีมาน กรรมการ/ผช.เลขาฯ มณฑา อีมาน
10 น.ส.มูสลีมะห์ อาลีมะส๊ะ กรรมการ/ผช.เลขาฯ มูสลีมะห์ อาลีมะส๊ะ
ผู้ไม่มาประชุม
1. นายพรสิทธิ์ อิศโร
2. นายชาฝีอี อาดำ
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายสากรียา พรหมาด ตัวแทนธนาคาร
2. นางสาวจีด๊ะ อาดำ ประธาน อสม.หมู่ที่ 6
3. น.ส.มณีรัตน์ อาดำ อสม.หมู่ที่ 6
4. น.ส.มีณา นีโกบ อสม.หมุ่ที่ 3
5. น.ส.สาริตา แก้วสลำ ตัวแทน อสม.หมู่ที่ 2
6. น.ส.ไลลา เต๊ะปูยู อสม.หมู่ที่ 7
7. น.ส.ฮับส๊ะ อาดำ ประธาน อสม.หมุ่ที่ 7
8. น.ส.สุไรบ๊ะ หลงหัน ประธาน อสม. หมู่ที่ 4
9. น.ส.วัลภา เจะอาสาร อสม.หมู่ที่ 4
10. น.ส.มาเรียม เหลบควนเคี่ยม อสม.หมู่ที่ 4
11. นางรอเบี๊ยะ ยะดี ประธาน อสม.หมู่ที่ 5
เวลา 13.30 น. เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ กล่าวเปิดประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 ฐานะทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี
ประธาน - ชี้แจงฐานะทางการเงินยอดยกมาเดือน มี.ค. 2563 เป็นเงิน 737,882.03 บาท รายรับ เป็นเงิน บาท
รายจ่าย เป็นเงิน - บาท
คงเหลือตามบัญชีเงินฝาก เป็นเงิน 737,882.03 บาท
¬¬มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ประธาน - ขอให้คณะกรรมการทุกท่านอ่านรายงานการประชุม ครั้งที่ 1 /2562 ตามเอกสารที่ได้ แจกและหากต้องการให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม ขอให้ยกมือ
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2562
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องติดตามการประชุมครั้งที่แล้ว
- ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 พิจารณาโครงการ ปี 2563
ประเภทที่ 2 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
ขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ดังนี้
4.1.1 โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 1)
น.ส.รฎา - สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดจะยิ่งส่งเสริมให้มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง จนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สำหรับในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลเกตรี พบผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 30 ราย เป็นผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติด จำนวน 14 ราย ผู้ป่วยจิตเวชทางกาย จำนวน 5 ราย และผู้ป่วยซึมเศร้า จำนวน 11 ราย ที่สำคัญมีการฆ่าตัวตายสำเร็จแล้ว จำนวน 1 ราย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลเกตรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ช่วยกันดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนให้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกันได้ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบในชุมชนต่อไป โดยดำเนินการจัดอบรมแก่กลุ่มเป้าหมาย และคัดกรองภาวะซึมเศร้า กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 55 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คนรายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.2 โครงการอบรมและรณรงค์ 3 อ. 2 ส. ลดโรค (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 2)
นางสาริตา - ปัจจุบันประเทศไทยพบว่า อัตราการเสียชีวิตของประชากร 3 ใน 4 มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคดังกล่าว ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรค แต่เป็นผลจากการมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารหวาน มัน เค็มมาก พักผ่อนน้อย และมีความเครียด ส่งผลให้ความดันเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงขึ้น น้ำหนักตัวเกิน จนอ้วนส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อตามมา ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะฉะนั้นการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานตั้งแต่เริ่มแรกและได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะสามารถควบคุมโรคและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ สำหรับชุมชนหมู่ที่ 2 ตำบลเกตรี พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 67 ราย และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 9 ราย โดยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคความดัน จำนวน 37 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 16 ราย ทางกลุ่มอสม. หมู่ที่ 2 ได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการอบรมและรณรงค์ ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคโดยขั้นดำเนินการให้ความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพด้วยการใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส. และ รณรงค์ให้ความรู้เชิงรุก มีกลุ่ม เป้าหมาย 40 คน กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 10 คน กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 30 คน รายละเอียดตามเอกสาร
นายไพรินทร์ - ผมขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อโครงการให้เข้าใจง่ายกว่านี้ครับ
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.3 โครงการโรคซึมเศร้าภัยเงียบ ทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 3)
น.ส.มีนา - สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิดความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความ คับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ทำให้เกิดความท้อแท้และเบื่อหน่าย ในชีวิตเครียดส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ทางด้านภาวะอารมณ์ การปรับตัวเข้ากับสังคม ภาวะสุขภาพเสื่อมลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของประชาชน และหากไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว ยิ่งส่งผลให้มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง จนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงขั้นการฆ่าตัวตายได้ สำหรับหมู่ที่ 3 ตำบลเกตรี พบผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 13 ราย เป็นผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติด จำนวน 7 ราย ผู้ป่วยจิตเวชทางกาย จำนวน 4 ราย และผู้ป่วยซึมเศร้า จำนวน 2 ราย จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 เห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดโครงการโรคซึมเศร้า! ภัยเงียบทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า และผลกระทบของภาวะของโรค เข้าใจตนเองและผู้อื่น เพื่อให้มีแนวทางป้องกันและไม่ให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้า โดยดำเนินการให้ผู้เข้าอบรมประเมินโรคซึมเศร้าตามแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q และ 9Q และมีวิทยากร ให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า! ภัยเงียบทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม /กิจกรรมนันทนาการ และติดตามผลการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย 70 คน คือ กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 50 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน รายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.4 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 4)
น.ส.สุไรบ๊ะ - ปัจจุบันพบว่าในหมู่ที่ 4 ตำบลเกตรี มีผู้ป่วย จากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 ราย โรค เบาหวาน จำนวน 20 ราย จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังเป็นการป้องกัน ยาเสพติดไม่ให้เข้ามาในกลุ่มเด็ก และเยาวชนได้อีกทางหนึ่งด้วย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 ตำบลเกตรี จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (ขยับกาย สบายใจ ปลอดภัยจากโรค) เพื่อเป็นทางเลือก ให้แก่ผู้ที่สนใจและกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการออกกำลังกายป้องกันโรค / ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ( บาสโลบ ) กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 60 คน รายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.5 โครงการมาออกกำลังกายกันเพื่อพิชิตโรคความดัน เบาหวาน (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 5)
นางรอเบี๊ยะ - โรคอ้วนลงพุงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดทางสมอง การออกกำลังกายจะทำให้น้ำหนักลดลง ลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด และป้องกันโรคได้หลายชนิด การไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มที่ใช้ชีวิตสบายๆไม่ได้ออกกำลังกาย มีระดับความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก และ การออกกำลังกายชนิดใช้ออกซิเจน จะสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ทั้งผู้ที่มีความดันปกติ และความดันโลหิตสูง โดยผู้ที่มีระดับความดันโลหิตปกติจะลดได้ 2/3 มิลิเมตรปรอท ส่วนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะลดได้10/8 มิลิเมตรปรอท เป็นต้น สำหรับชุมชนหมู่ที่ 5 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 75 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 9 ราย โดยมีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 54 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 36 ราย กลุ่มอสม. หมู่ที่ 5 ให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ มาออกกำลังกายกันเพื่อพิชิตความดัน เบาหวานขึ้น เพื่อให้ประชาชนมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ให้คงที่ปกติ ไม่ส่งผลร้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง และโรค เบาหวานของประชาชนในชุมชนต่อไป โดยดำเนินการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อพิชิตโรคความดัน เบาหวาน/ ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายเบื้องต้น และกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 20 คน กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 40 คน งบประมาณตั้งไว้ 16,950.-บาท รายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.6 โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 6)
นางจีดะ - การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วย การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถลดอันตรายที่รุนแรงหรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เช่นการช่วยผายปอดที่หยุดหายใจ การห้ามเลือดเป็นต้น
ตลอดจนช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยได้ ชุมชน หมู่ที่ 6 ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลพอสมควรและประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายในหลายปัจจัย เช่น การบาดเจ็บจากการถูกสัตว์ร้ายกัด การสูดดมหรือถูกสารเคมี การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและการทำงานในที่มีอากาศร้อนทําให้เกิดการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เป็นลม และหมดสติได้ อีกทั้งบริบทของพื้นที่ ยังมีแหล่งน้ำ เช่น ห้วย บ่อและสระน้ำ ทำให้มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ ประกอบกับการขับขี่รถที่ใช้ความเร็ว จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนได้ง่าย ที่สำคัญประชาชนบางคนมีโรคประจำตัวเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยโรคดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ ทำให้เป็นลมหมดสติ หัวใจวาย และเส้นเลือดสมองแตก เป็นต้น กลุ่มอ.ส.ม. หมู่ที่ 6 จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะได้ช่วยเหลือผู้อื่นในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไปได้ โดยดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ/ ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40 คน รายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
4.1.7 โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตดี ไม่มีโรคซึมเศร้า (กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 7)
นางฮับส๊ะ - โรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน คนส่วนใหญ่จะเกิดความ เครียดในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว และอื่นๆ เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นก็จะทำ ให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันคนในชุมชนตำบลเกตรี พบปัญหาด้านต่างๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ด้านสุขภาพ บางครอบครัวมีปัญหาด้านสุขภาพของตัวเองหรือของคนในครอบครัว ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดและอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า บางรายอาจการทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าได้ สำหรับพื้นที่หมู่ที่ 7 มีบุคคลที่มีอาการทางจิตเวชทั้งหมด จำนวน 15 ราย โดยแยกผู้ป่วยประเภทจิตเวชจากสารเสพติดจำนวน 5 ราย ผู้ป่วยจิตเวชทางกายจำนวน 3 รายและผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 7 ราย ที่สำคัญเคยมีบุคคลเสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตายสำเร็จมาแล้วจำนวน 1 ราย กลุ่มอสม. หมู่ที่ 7 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตดีไม่มีโรคซึมเศร้าเพื่อป้องกันและแนะนำการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคเครียดและซึมเศร้า โดยดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประเมินคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ผ่านแบบคัดกรองของกรมสุขภาพจิต กลุ่มเป้าหมาย 60 คน คือ กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 10 คน กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40 คน กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน รายละเอียดตามเอกสาร
มติที่ประชุม อนุมัติด้วยหลักการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
ประธาน - ไม่ทราบว่าคณะกรรมการมีเรื่องใดจะเสนออีกบ้าง หากคณะกรรมการไม่มีอะไรแล้ว ผมขอ ขอบคุณทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และขอให้คณะกรรมการร่วมประชุมครั้งต่อไปอย่างพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ
ปิดประชุม เวลา 15.45 น.
มณฑา อีมาน จดรายงานการประชุม
(นางมณฑา อีมาน)
นายพรสิทธิ์ อิศโร ตรวจรายงานการประชุม
(นายพรสิทธิ์ อิศโร )