กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 2560-L1469-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยตำบลบางสัก
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยตำบลบางสัก
พี่เลี้ยงโครงการ สุวณี ณ พัทลุง
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสักตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.397,99.383place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) เป็นวิถีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหาร และยา ใช้ในการอบ การประคบ การนวดการแพทย์แผนไทยมีการวินิจฉัยโรคเป็นแบบความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้เป็นทฤษฎี โดยพื้นฐานทางพุทธศาสนา ผสมกลมกลืนกับความเชื่อทางพิธีกรรม มีการเรียนการสอน และการถ่ายทอดความรู้ อย่างกว้างขวางสืบทอดมายาวนานหลายปี (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2551) ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากเป็นระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องพึ่งพิงเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่ทำให้การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (ดารณี อ่อนชมจันทร์, 2548) ดังนั้นภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพของการแพทย์พื้นบ้านอย่างลุ่มลึก จะช่วยดึงสิ่งที่ยังเหมาะสมกับยุคสมัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในสถานการณ์จริงของชุมชนย่อมเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เพราะในทัศนะของชาวบ้าน พบว่าการแพทย์พื้นบ้านไม่ได้แยกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเด็ดขาด แต่ดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังนั้นการพัฒนาสาธารณสุขจึงควรพัฒนาการแพทย์ทุกระบบไปพร้อมกันอย่างเหมาะสมด้วยเหตุนี้ภาครัฐและองค์กร สถาบันต่างๆ รวมทั้งภาคเอกชน จึงให้ความสนใจฟื้นฟู และพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจสถานะปัจจุบันของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ การผสมผสานระบบการแพทย์พื้นบ้านสู่ระบบสุขภาพไทยอย่างเหมาะสม การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของประเทศ ในภาคใต้ พบว่า โต๊ะบีแด (หมอตำแย) มีบทบาทสำคัญในการเตรียมตัวให้แม่คลอดง่าย มีการดูแลหลังคลอดด้วยการอยู่ไฟโดยใช้ก้อนเส้า (กำราบ พานทองอ้างใน เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์, 2550) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มารดาส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามความเชื่อเรื่องการใช้ความร้อนหลังคลอด (KaewsarnP, Moyle W, Creedy D., 2003) ส่วนสตรีในภาคเหนือเชื่อว่าการไม่ทำตามข้อห้ามในการปฏิบัติหลังคลอดจะส่งผลต่อสุขภาพไปตลอดชีวิต สตรีในชนบทปฏิบัติตามความเชื่อมากกว่าในเขตเมือง (PraneeLiamputtong,2004) ภาคกลางพบว่ามีการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยความช่วยเหลือของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวและหมอพื้นบ้าน โดยเรียกรวมว่า การอยู่ไฟโดยใช้สมุนไพรหลายชนิด มีการงดอาหารแสลง และบริโภคอาหารบำรุงน้ำนม บำรุงโลหิต มีการประกอบพิธีกรรมตามวัฒนธรรมในบางท้องถิ่น (ลัฐิกาจันทร์จิต, 2540) เป็นต้น สำหรับเขตพื้นที่ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีสตรีตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งที่ให้ความเชื่อมั่น และยอมรับการรักษาจากแพทย์แผนไทย โดยผสมผสานกับการดูแลรักษา จากแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการที่จะช่วยให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้โดยอาศัยภูมิปัญญาของตน ในท้องถิ่นมาผสมผสานกับแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วในระยะหลังคลอด เมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง ร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง โดยมดลูกจะมีขนาดเล็กลงเท่าก่อนตั้งครรภ์ หน้าท้องจะลดลง เมื่อรับประทานอาหารได้ตามปกติ ร่างกายจะเริ่มแข็งแรง ผิวพรรณสดใส โดยต้องพักฟื้นและใช้ระยะหนึ่ง แต่จะยังคงทิ้งร่องรอยของการผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่พึงปรารถนา เช่น มีไขมันที่หน้าท้องมาก ผิวหน้าตกกระ ด่างดา ผิวหนังบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบคล้า ผิวหนังหย่อนยาน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามหลัง น่อง รวมถึงอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า บางรายมีอาการหนาวสะท้านเมื่อเจออากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอากาศเย็น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ มารดาหลังคลอดต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ รวมทั้งหน้าที่การเลี้ยงดูบุตร เรียนรู้ปฏิกิริยาโต้ตอบของทารก ในขณะที่ต้องคงบทบาทหน้าที่เดิม คือ ภรรยาที่ดีของสามี เป็นแม่บ้านรับผิดชอบเรื่องต่างๆภายในบ้าน ในปัจจุบัน พบว่าชุมชนชนบทยังคงมีการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดตามความเชื่อพื้นบ้านที่สืบทอดเป็นวัฒนธรรมการดูแลตนเองมายาวนาน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย จะมีความแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้น มารดาหลังคลอดจะต้องเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูร่างกาย และรูปร่างให้กลับคืนสู่สภาพเดิม รวมถึงการดูแลทารกที่เกิดมาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ แพทย์แผนไทย และทีมสหาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ร่วมกับภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จึงสนใจที่จะศึกษา การส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย เขตพื้นที่ความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ลดอาการคัดตึงเต้านม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ลดอาการปวดเมื่อยในมารดาหลังคลอด และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถทำงานได้เป็นปกติทำให้หน้าท้องยุบเร็วน้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้นและแห้งเร็ว ช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้นโดยครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลัก อันจะส่งผลให้หญิงหลังคลอดเกิดความอบอุ่น ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตมารดาหลังคลอด โดยให้ความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ซึ่งประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ๑. การนวด ๒. การประคบสมุนไพร ๓. การอบสมุนไพร ๔. การทับหม้อเกลือ และ ๕. การได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทย เป้าหมาย มารดาหลังคลอด ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทยร้อยละ ๘๐ มารดาหลังคลอด มีความรู้และสามารถปฏิบัติตน โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทยร้อยละ ๘๐
  • ลดอาการคัดตึงเต้านม
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  • ลดอาการปวดเมื่อยในมารดาหลังคลอด และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • สามารถทำงานได้เป็นปกติ
  • หน้าท้องยุบเร็ว
  • น้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้นและแห้งเร็ว
  • ช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น เครื่องมือ/วิธีการ
  • แบบประเมินทักษะ มารดาหลังคลอดจำนวน 20 ข้อ
  • แบบประเมินความพึงพอใจ 20 ข้อ เกณฑ์
  • มารดาหลังคลอด ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทยร้อยละ ๘๐
  • มารดาหลังคลอด มีความรู้และสามารถปฏิบัติตน โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทยร้อยละ ๘๐
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินการ วิเคราะห์ปัญหาบริบทของมารดาหลังคลอดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางสัก วิเคราะห์สภาพสังคมปัจจุบัน และภาวะแทรกซ้อน ปัญหาของมารดาหลังคลอด รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาการดูแลตนเองและการจัดการสุขภาพลดการแทรกซ้อนในกลุ่มมารดาหลังคลอดเน้นที่ระบบประสาทส่วนปลายโดยใช้การบำบัดด้วยแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเพื่อสอดคล้องกับปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต ประชาสัมพันธ์โครงการในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ระยะดำเนินการ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ จัดบริการการส่งเสริมสุขภาพ มารดาหลังคลอด โดยแพทย์แผนไทยวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การนวด (มารดาหลังคลอดได้รับการนวดจำนวน 5 ครั้งๆ ละ 20นาที) ขั้นตอนที่ 2 การประคบสมุนไพร (หลังจากได้รับการนวดตามขั้นตอนที่ 1 จะประคบสมุนไพรครั้งละ 15นาที) ขั้นตอนที่ 3 การทับหม้อเกลือ(หลังจากประคบสมุนไพรตามขั้นตอนที่ 2 จะทับหม้อเกลือครั้งละ 20นาที) ขั้นตอนที่ 4 การอบสมุนไพร(หลังจากทับหม้อเกลือตามขั้นตอนที่ 3 จะอบสมุนไพรละ 20-30นาที) ขั้นตอนที่ 5 การให้แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด (หลังจากอบสมุนไพรตามขั้นตอนที่ 4 จะแนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด 10นาที ประกอบด้วย 1. การดูแลความสะอาดของเต้านม 2. การให้นมทารก 3. หลักสำคัญในการดูแลทารก 4. การออกกำลังกายหลังคลอด และ 5. อาหารและสมุนไพรบำรุงสุขภาพหลังคลอด ระยะหลังดำเนินการ ประเมินผล สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาหลังคลอดได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ซึ่งประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ๑. การนวด ๒. การประคบสมุนไพร ๓. การอบสมุนไพร ๔. การทับหม้อเกลือ และ ๕. การได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทย
  2. มารดาหลังคลอด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดอาการคัดตึงเต้านม ลดอาการปวดเมื่อยในมารดาหลังคลอด สามารถทำงานได้เป็นปกติ หน้าท้องยุบเร็ว น้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้นและแห้งเร็ว ช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2560 14:42 น.