กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผนึกพลังเยาวชนไทยต้านภัยไข้เลือดออกและ โรคชิคุนกุนยาประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7890-002-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนส่องแสงวิทยา
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 49,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุภาภร ริมดุสิต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 850 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย(โรคชิคุนกุนยา) เป็นบางปีกระจายไปทั่วทุกพื้นที่และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุหากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อกและอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกข้อมูลระบาดวิทยาตำบล พะตงตั้งแต่ปีพ.ศ 2557 - 2561 พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก 17,35,46,22 และ 7 รายตามลำดับ ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอัตราป่วยดังกล่าวนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้(เกณฑ์ไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร) จากการศึกษาข้อมูลพบว่าอัตราการเกิดโรคในโรงเรียนส่องแสงวิทยา พบว่านักเรียนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกทุกปี     ดังนั้นโรงเรียนส่องแสงวิทยา จึงได้จัดทำโครงการผนึกพลังเยาวชนไทยต้านภัยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาประจำปี พ.ศ. 2563 ขึ้น เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในโรงเรียน บ้าน ชุมชนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายจากไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพชีวิต โดยบรรจุเนื้อหาการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมที่สำคัญคือให้นักเรียนได้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนทุกวันศุกร์อย่างต่อเนื่อง เป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของครูและนักเรียน จะส่งผลให้อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดและโรคชิคุนกุนยา ในโรงเรียน และในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาลดลง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียน จัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

โรงเรียน วัด ค่า CI = 0

0.00
3 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาให้แก่กลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่อัตราการเจ็บป่วยสูงสุด สามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

นักเรียน  ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและร่วมกันป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 850 49,700.00 0 0.00
10 - 28 ก.พ. 63 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาโดยแบ่งเป็นช่วงชั้น ครั้งละ 3 ชม. รวมจำนวน 4 ครั้ง - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 850 34,700.00 -
10 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน (กรณีพบนักเรียนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก) 0 3,000.00 -
1 - 31 มี.ค. 63 กิจกรรมเดินรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน 0 2,900.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ทุกวันศุกร์ 0 8,900.00 -
1 - 30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 200.00 -
  1. เสนอโครงการฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพะตง
  2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. ติดต่อประสานงานวิทยากรในการจัดอบรม ขั้นดำเนินงาน
  5. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาให้กับนักเรียน โดยแบ่งเป็นช่วงชั้น ประถมศึกษา 1-3 ,ประถมศึกษา 4-6 ,มัธยมศึกษา 1-3 ,มัธยมศึกษา 4-6 ครั้งละ 3 ชั่วโมง
  6. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน และบ้านนักเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  7. รายงานผลการสำรวจ
  8. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน และโรงเรียน ทุกสัปดาห์
  9. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์การป้องกันการระบาดของโรค ในโรงเรียน
  10. สรุปผลการดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพะตงทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดและประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในเขตเทศบาลตำบลพะตงลดลง ๓. ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 10:33 น.