กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามการรับวัคซีนพื้นฐานในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลโคกสะบ้า
รหัสโครงการ 63-L1473-01-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุงเสริมสุขภาพตำบลตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 43,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศมาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า ๓๐ ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย แม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆ มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลา เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง ทางกรมควบคุมโรคได้เปลี่ยนเกณฑ์การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ ๐ - ๕ ปี ทำให้ผู้ปกครองบางท่านเกิดความสับสนหรือไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนจึงไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบล ตำบลโคกสะบ้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค จึงจัดทำโครงการติดตามการรับวัคซีนพื้นฐานในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนตำบลโคกสะบ้านี้ขึ้น เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงความสำคัญในการติดตามความครอบคลุมวัคซีนในพื้นที่บริการของตำบลโคกสะบ้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการค้นหาและติดตามเด็กในเขตรับผิดชอบที่ไม่มารับวัคซีน ตามนัด

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
3 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองเด็กมีความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการนำบุตรมารับวัคซีน

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - จัดทำโครงการเสนอต่อประธานกองมทุนหลักประกันฯ ขอสนับสนับงบประมาณดำเนินการ - วิเคราะห์ข้อมูลการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็ก ๐ - ๕ ปี ในพื้นที่บริการ เพื่อคัดแยกกลุ่มที่ยังได้วัคซีนไม่ครอบคลุมและกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว พร้อมจัดทำรายชื่อแยกเป็นรายหมู่บ้านให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข     - จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ในสถานบริการ - จัดอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมด้วยวัคซีน ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๑๒๖ คน จำนวน ๒ วัน     - ประเมิน/ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ     - สรุปผลตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ความครอบคลุมวัคซีนพื้นฐานของหน่วยบริการมีอัตราเพิ่มขึ้น
  • อาสาสมัครสาธารณสุขให้ความร่วมมือในการติดตามเด็กผิดนัดให้มารับวัคซีนครบทุกราย
  • ผู้ปกครองเด็กมีความตระหนักต่อการนำบุตรมารับวัคซีนเพิ่มขึ้น จำนวนเด็กที่ผิดนัดวัคซีนลดลง
  • ไม่มีการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 10:46 น.