โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดภัยขยะในชุมชน ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดภัยขยะในชุมชน ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5235-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี |
วันที่อนุมัติ | 18 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,540.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประภาส ขำมาก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายศุภชัย เผือกผ่อง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.542,100.388place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาขยะในชุมชน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประชากรของประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า ๖๐ ล้านคน สร้างขยะวันละประมาณ ๑๔.๔ ล้านตันต่อปีโดยที่เป็นขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชนเมืองในเขตเทศบาลถึงร้อย ๕๕ ที่เหลือร้อยละ ๔๕ อยู่นอกเขตเทศบาล (กรมควบคุมมลพิษ, 2552) ขยะมูลฝอย เป็นปัญหา ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหากลิ่นเหม็นก่อให้เกิดเหตุรำคาญ เกิดปัญหาน้ำเสียเนื่องจากการทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง น้ำเสียจากกองขยะไหลปนเปื้อนไปสู่แหล่งน้ำ และกองขยะเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม ขยะยัง เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน และหนู ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคบิด อหิวาตกโรค บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ ฯลฯ การเผาขยะกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ แหล่งกำเนิดมูลฝอยที่สำคัญ คือ บ้านพักอาศัย โดยที่ร้อยละ 80 ของมูลฝอย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยนำมารีไซเคิลได้ร้อยละ 30 -35 หมักทำปุ๋ยได้ ร้อยละ 40-45 แต่ปัจจุบันอัตราการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีเพียงร้อยละ 18 ถือว่าต่ำมาก (กรมควบคุมมลพิษ, 2552) นโยบายการจัดการขยะในชุมชนของภาครัฐ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้กำหนดให้มีการจัดการขยะในชุมชน การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้มีระบบจัดการขยะในชุมชนตั้งจุดเริ่มต้นของการจัดการขยะในชุมชน จนถึงจนถึงขั้นสุดท้าย โดยให้ความสำคัญในการนำขยะมาแปรรูปนำมาใช้ใหม่ และเพิ่มมูลค่าให้กับขยะและมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและบูรนาการกับทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ดังนั้น หากมีวิธีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องเหมาะสมที่เป็นระบบและครบวงจร จะสามารถแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนได้ นโยบายและแผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559 กำหนดเป้าหมายดำเนินการด้านการจัดการมูลฝอยไว้ ดังนี้1. ลดอัตราการเกิดขยะมูลฝอยชุมชนโดยเฉลี่ยให้ไม่เกิน 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน 2.ให้มีการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นและ 3. ให้ทุกจังหวัดมีแผนหลักและแผนการจัดการขยะมูลฝอยและมีระบบกำจัดมูลฝอยที่ถูกลักษณะ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2550:38)
จากการสำรวจสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของบ้านเรือนในพื้นที่ตำบลคลองรี ทั้งหมด จำนวน 836 หลังคาเรือน ในปี พ.ศ.2562 พบว่า หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่ถูกต้อง ร้อยละ 31.54 มีการจัดการขยะโดยวิธีการเผากลางแจ้ง ร้อยละ 84.35 มีการนำขยะไปฝังกลบร้อยละ 4.25 ทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก ร้อยละ 21.60 หลังคาเรือนที่นำขยะเปียกไปเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 25.28 ครัวเรือนที่มีถังขยะถูกหลักสุขาภิบาล ร้อยละ 32.78 ครัวเรือนมีการกำจัดมูลสัตว์ที่ถูกต้องร้อยละ 68.25 และครัวเรือนทีการจัดการขยะที่มีเป็นพิษถูกต้อง ประเภทหลอดไฟฟ้า กระป๋องสเปร์ย ถ่านไพฉาย แบตเตอรี่ ร้อยละ 7.75 มีการขายขยะกลับไปใช้ใหม่ร้อยละ65.65 (ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตำบลคลองรี ปี 2562) จากข้อมูลสภาพปัญหาในการจัดการขยะในตำบลคลองรี ยังไม่มีขบวนการร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม การแก้ไขปัญหายังไม่ได้นำมาคิดจัดการอย่างเป็นระบบ ประชาชนต่างคิดต่างทำกันเอง ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมแก้ไขปัญหา คณะกรรมการเครือข่ายสุขภาพฐานศูนย์ตำบลคลองรี ตระหนักดีว่าปัญหาจากขยะมูลฝอย เป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันจัดการโดยการให้มีคัดแยกที่ถูกต้องและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยเริ่มจากระดับครัวเรือนขยายออกไปสู่ชุมชน อันจะส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง คณะกรรมการเครือข่ายสุขภาพฐานศูนย์ตำบลคลองรี ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ได้วิเคราะห์ปัญหาและเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบูรนาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยใช้ขบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาโดยขบวนการA-I-C (Appreciation Influence Control) ซึ่งเป็นขบวนการที่ให้ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดการขยะ และร่วมกันหาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยในตำบลคลองรีอย่างมีระบบสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและทำให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องรู้สึกความเป็นเจ้าของทุกขั้นตอนในการคิดแก้ไขปัญหา สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการขยะที่ถูกต้อง ส่งผลดีต่อสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนประชาชนมีสุขภาพที่ดีในโอกาสต่อไป เพราะฉะนั้นการพัฒนาชุมชนที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องเปิดโอกาสให้บุคคล และผู้แทนของกลุ่มองค์กร ต่างๆ ที่อยู่ใน ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาชุมชน ร่วมตัดสินใจอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องและร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น มีการร่วมติดตามและประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องตลอดไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการขยะที่เข้มแข็งด้วยชุมชนเอง 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำระดับละแวกบ้านให้มีความรู้และเป็นผู้นำในการจัดการขยะในครัวเรือนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน 3.เพื่อรณรงค์ให้มีการกำจัดขยะที่ต่อเนื่องในชุมชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-มีคณะกรรมการขับเคลื่อนในการจัดการขยะจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในชุมชนตำบลคลองรี |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อปรึกษาหารือแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในตำบลคลองรีโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและร่วมกันจัดตั้งคณะทำงาน 2. อบรมแกนนำรับผิดชอบในระดับละแวกบ้านโดยคัดเลือกแกนนำกลุ่มนี้จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ทุกคนในตำบลคลองรี จำนวน 97 คน เพื่อเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำและกระตุ้นแก่ประชาชนการคัดแยกและจัดการขยะระดับครัวเรือน ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการคัดแยกและจัดการขยะที่ถูกต้อง 3. แกนนำละแวกติดตามและประเมินครัวเรือนในการคัดแยกและการจัดการขยะทุก 2 เดือน 4. ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำระดับละแวกบ้านเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลสำเร็จในการดำเนินงานทุก 6 เดือน และคณะทำงานเพื่อหารือวางแผนในการแก้ปัญหาและช่วยดำเนินการต่อไป 5. รณรงค์ให้มีการจัดเก็บขยะประเภทขวดแก้วในตำบลคลองรี หลังเทศกาล วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ และทำบุญเดือนสิบของชาวใต้ รวมปีละ 3 ครั้ง/ปี นำมารวมไว้ที่จุดเก็บขวดในชุมชน และขวดที่เก็บได้นำไปขายเก็บเงินเป็นรายได้ของกองทุน 6. สำหรับขยะที่ประชาชนเห็นว่าไม่สามารถกำจัดที่ถูกต้องได้ เช่น หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ให้ประชาชนแยกเก็บไว้ทาง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองรีและคณะกรรมการกองทุนขยะฐานศูนย์ตำบลคลองรี ร่วมรณรงค์เก็บไปทำลายปีละ 1 ครั้ง 7. คัดเลือกครัวเรือนที่มีการจัดการขยะได้ถูกต้อง หมู่บ้านละ 3 หลังคาเรือน
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการขยะที่เข้มแข็งด้วยชุมชนเอง 2. มีแนวทางและมาตรการในการจัดการขยะในครัวเรือนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 14:33 น.