กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อสม. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 63-L1473-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 23,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุลธิดา สังข์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปี ประเทศได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมากมหาศาลเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพของประชาชน ปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันอุบัติภัยอันตรายต่างๆ รวมทั้งป้องกันโรคติดเชื้อที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย นับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล  ปัจจุบันกระแสของการสร้างเสริมสุขภาพกำลังเป็นที่กล่าวถึงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสุขภาพได้ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก เป็นประเด็นการเคลื่อนไหวทางสาธารณสุขที่สำคัญ และถือได้ว่าเป็นจุดหักเหหรือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับกับสุขภาพ จากจุดเน้นของการบริการแบบ “ตั้งรับ” หรือ “โรงซ่อมสุขภาพ” ซึ่งเน้นการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยแล้วมาเน้นการบริการ “เชิงรุก” หรือ “การสร้างเสริมสุขภาพ” ซึ่งเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเจ็บป่วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าระบบที่มุ่งการซ่อมสุขภาพเป็นระบบที่มีความสิ้นเปลืองต้นทุน ค่าใช้จ่ายสูง เกิดผลกระทบทั้งคนไข้และสังคม ในส่วนของคนไข้นอกจากจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแล้วยังต้องสูญเสียรายได้เนื่องจากขาดงานแล้วอาจมีปัญหาสุขภาพจิต  ในส่วนของสังคมส่วนรวมต้องแบกรับภาระความเจ็บป่วยเกินความจำเป็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เจ็บป่วย พิการ เสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เสียโอกาสในการนำทรัพยากรไปใช้ในด้านต่างๆ เนื่องจากต้องนำมาใช้ในการลงทุนสร้างระบบบริการเพื่อรองรับความเจ็บป่วย การทำให้สุขภาพดีจะทำให้ระบบเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรอรักษาและฟื้นฟูเมื่อสุขภาพเสียแล้ว ระบบสุขภาพจึงควรมุ่งเน้นที่การ “สร้างสุขภาพ”
จากการดำเนินงานด้านการสร้างสุขภาพในกลุ่ม อสม.ตำบลโคกสะบ้า พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีภาวะอ้วนลงพุง ชอบรับประมานอาหารหวาน มัน เค็ม อีกทั้งไม่ได้    ออกกำลังกาย และพบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ซึ่งบ่งบอกได้ว่า กลุ่มดังกล่าวขาดความรู้ด้านการดุแลสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อลดโรค และลดภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะตามมา ชมรม อสม.ตำบลโคกสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อสม.กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เพื่อให้อสม.มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งประชาชนที่ตนเองต้องดูแลในชุมชนตามที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพจากการเจ็บป่วยจากโรคหรือภาวะเสี่ยงของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคตามหลัก 3 อ 2 ส

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
2 เพื่อให้ อสม.มีสุขภาพที่ดี สามารถดูแล แนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่ของตนเองได้

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
3 เพื่อลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดความตระหนักและสนใจเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 2 ประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่รับทราบโครงการ 3 จัดประชุมอบรมให้ความรู้ โดยวัดความรู้ก่อน/หลังการอบรม 4 ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ นำหนัก, ส่วนสูง, ค่า BMI , ความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือดและรอบเอว 5 ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการทุกเดือน จำนวน 4 เดือน 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคตามหลัก 3 อ 2 ส
  2. อสม.มีสุขภาพที่ดี มีรอบเอวลดลง สามารถดูแล แนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่ของตนเองได้
  3. อสม.ที่ป่วย มีการเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 15:26 น.