กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-L3323-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ ๑
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2563
งบประมาณ 6,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพร บุญช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลปโตสไปโรซีสเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พบได้ทั่วโลก แต่พบในเขตเมืองร้อนได้บ่อยกว่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด สไปโรขีตขนาดเล็กใน Genus Leptospiraสายพันธุ์ก่อโรค สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทุกชนิดติดเชื้อได้ แต่อาจมีอาการป่วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณเชื้อที่ได้รับ สัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคมีทั้งสัตว์ป่า เช่น กระรอก กวาง สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น สุกร หนู สุนัข โค กระบือ แมว เป็นต้น การติดเชื้อในปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อาจทำให้เกิดการแท้ง การตายแรกคลอด หรือผลผลิตลดลง เช่น น้ำนม ทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ เชื้อก่อโรคติดต่อมาสู่คนได้โดยตรง จากการสัมผัสกับอวัยวะที่ติดเชื้อของสัตว์ที่ป่วยหรือเป็นแหล่งรังโรค หรือติดต่อ ทางอ้อมโดยเชื้อก่อโรคไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยแผลหรือเยื่อบุ เมื่อคนไปสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะ ของสัตว์พาหะ โดยคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ชาวนา ชาวไร่ คนงานโรงงานฆ่าสัตว์ กรรมกร ขุดลอกคูคลอง สัตว์แพทย์ เป็นต้น นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินลุยน้ำ ว่ายน้ำและล่าสัตว์ก็มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ได้ สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส ในจังหวัดพัทลุง จากรายงาน 506 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง (1 มกราคม 2562 – 28 พฤษภาคม 2562) พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 3 ราย อัตราป่วย 0.6 ต่อแสนประชากร จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสของตำบลพนางตุง 5 ปีย้อนหลัง (๒๕๕8-๒๕62) พบว่า มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ดังนี้ 0.00, 0.00, 29.9, 29.9, 0.00 มีอัตราเสียชีวิตในปี (๒๕๕7-๒๕61) 0.00 ต่อแสนประชากร เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนและลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคเลปโตสไปโรซีสอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยตายจากโรคเลปโตสไปโรซีส

อัตราป่วยตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลงไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง 1.45

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,600.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 31 พ.ค. 63 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไป โรซีส 0 0.00 -
1 ม.ค. 63 - 31 พ.ค. 63 2. จัดหารองเท้าบูทยางกันน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน 0 6,600.00 -
1 ม.ค. 63 - 31 พ.ค. 63 3. ให้ความรู้และคำแนะนำในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสแก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน       2. จัดทำแผนงาน/โครงการ/ขออนุมัติโครงการ
  2. จัดหารองเท้าบูทยางกันน้ำ       4. ให้ความรู้และคำแนะนำในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสแก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2563 11:37 น.