กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การควบคุม ป้องกัน โรคไร้เชื้อ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาชี
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรมล บุญธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.115place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 12,700.00
รวมงบประมาณ 12,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไร้เชื้อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มวัยทำงาน (ระบบ HDC จ.ยะลา) พบว่า เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 23. คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง..80. คน ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 17.91 ป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 8.16 ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (≥ 23 กก./ตร.ม.) จำนวน335 คนรอบเอวเกินมาตรฐาน (ชายไม่เกิน 90 ซม. / หญิงไม่เกิน 80 ซม.) ร้อยละ 29.39เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 362 คน กลุ่มป่วยที่ไม่สามารควบคุมความดัน/เบาหวานให้อยู่ในระดับปกติได้ เบาหวานคิดเป็นร้อยละ 29.59 ความดันคิดเป็นร้อยละ 33.78 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานตามตัวชี้วัดที่ร้อยละ40 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาชี เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไร้เชื้อ ในกลุ่มวัยทำงานและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มป่วยสามารถควบคุมค่า Hba1c ไม่เกิน 6.5 %

กลุ่มป่วยสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเส้นเลือดได้ ค่า Hba1c ไม่เกิน 6.5% ร้อยละ 40

0.00
2 ประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูงได้ในระดับปกติ

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือดและค่าความดันโลหิตสูงได้ในระดับปกติ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 35 12,700.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้วิธีการปรับเรื่องโภชนาการ ดู VDO จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุศาสตร์ชะลอวัยแทรกแต่ละรายวิชา กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย 35 12,700.00 -
  1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มป่วยที่ไม่สามารควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติได้จำนวน 20 ราย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงจำนวน 15 ราย
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้วิธีการปรับเรื่องโภชนาการ
  3. กิจกรรมการตรวจประเมนสุขภาพหลังจากการเข้าอบรมปรับเปลี่ยนปีละ 1 ครั้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มป่วยสามารถควบคุมค่า Hba1c ไม่เกิน 6.5 %
  2. ประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูงได้ในระดับปกติ
  3. ผู้เข้าอบรมสามารนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2563 13:22 น.