กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L1519-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังมะปรางเหนือ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 119,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมปอง ทองหอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 119,625.00
รวมงบประมาณ 119,625.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) หมายถึง โรที่มีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีจุดเลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ทำให้มีความผิดปกติขิงผนังหลอดเลือดฝอย น้ำเลือดซึมออกนอกหลอดเลือดทำให้ปริมาณน้ำเลือดลดลง เกิดความไม่สมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และอาจเกิดภาวะช็อก (Hypovolemic Shock) ร่วมกับอาการที่เกิดจากเชื้อเดงกีจะทำลายเกล็ดเลือด เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย โดยจะพบว่าผู้ป่วยจะมีจุดเลือดตามแขนขาและอาจมีอาการอาเจียนหรืออุจจาระออกเป็นเลือด (จรวย สุวรรณบำรุง, 2560) จากสถานการณ์โดยรวมของโรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ที่ 52 ปี พ.ศ. 2561 พบว่าเป็นปีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม จำนวน 85,849 ราย อัตราป่วย 129.96 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 111 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.13 มีรายงานผู้ป่วยมากกว่าปี 2560 ร้อยละ 61 (1.6 เท่า) (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2561)       จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 650 ราย อัตราป่วย 101.08 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง, 2562) และจากการรายงานอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอปี 2562 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรกพบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอย่านตาขาว อัตราป่วย 234.12 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอวังวิเศษ อัตราป่วย 185.24 ต่อแสนประชากร และอำเภอหาดสำราญ อัตราป่วย 118.72 ต่อแสนประชากร (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง, 2562) สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม จำนวนทั้งสิ้น 27 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 300.53 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 18 ราย เพศหญิง 9 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 2.00 : 1 (โรงพยาบาลวังวิเศษ, 2562) ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลวังวิเศษได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังมะปรางเหนือ เป็นแกนนำและชุมชนสามารถขับเคลื่อนการจัดการแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80
115.00
2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง ค่า HI น้อยกว่าร้อยละ 10 และกรณีพื้นที่พบผู้ป่วย ค่า HI, CI ต้องเท่ากับ 0
10.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 40 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวาน
  1. ประชาชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
115.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 119,625.00 0 0.00
22 ม.ค. 63 โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประจำปี 2563 115 119,625.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ศึกษาข้อมูลและสภาพปัญหาของชุมชน 1.2 วางแผนการดำเนินการและเขียนโครงการ 1.3 นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติในการจัดโครงการ 1.4 กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ 1.5 ประสานงานแก่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2. ขั้นดำเนินการ ดำเนินการตามรูปแบบกิจกรรมที่กำหนด ดังนี้ 2.1 กิจกรรมก่อนการระบาดของโรคไข้เลือดออก (เดือน ม.ค. – เม.ย.) 2.1.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 2.1.2 ร่วมกันรณรงค์โดยการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2.1.3 แจกโลชั่นกันยุงแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.1.4 จัดประชุม อสม. ตำบลวังมะปรางเหนือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสำรวจลูกน้ำยุงลาย 2.1.5 แจกทรายเทมิฟอสให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 2.2 กิจกรรมช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก (เดือน พ.ค. – ส.ค.) 2.2.1 ดำเนินการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยการพ่นหมอกควัน (Fogging) และพ่นฝอยละเอียด (ULV) 2.2.2 ประชุม war room หาแนวทางการแก้ปัญหาเร่งด่วนในชุมชน 2.2.3 เพิ่มกิจกรรมเข้มข้นในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2.2.4 เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ 2.3 กิจกรรมหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก (เดือน ก.ย. – ธ.ค.) 2.3.1 ติดตามผลการควบคุมโรคไข้เลือดออก สำรวจและคำนวณค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย House Index (HI) และ Container Index (CI)
2.3.2 ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการควบคุมโรค 3. ขั้นสรุปผล 3.1 ประเมินผลการดำเนินโครงการ 3.2 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นด้วยตนเองได้
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI, CI ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  4. อัตราผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2563 14:43 น.