กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยวิถีและศาสตร์แพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 63 -L1527-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 23,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิเดช แก้วสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันศาสตร์การแพทย์แผนไทยเริ่มมีบทบาทและมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้นโดยเฉาพะการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่เป็นศาสตร์ทางเลือกอีกด้านหนึ่งที่นำมาช่วยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดหลัง ลดอาการคัดตึงเต้านม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตมดลูกหดรัดและเข้าอู่เร็วขึ้น น้ำคาวปลาแห้งเร็ว และยังช่วยให้สดชื่น สุขสบายมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว ปี 2562 มีมารดาหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบปีละประมาณ 20 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงได้จัดทำโครงการมารหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยวิถีและศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด โดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยลดอาการปวดคัดตึงเต้านม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ทำให้หน้าท้องยถบเร็ว น้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้น และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้นสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ โดยครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักอันจะส่งผลให้หญิงหลังคลอดเกิดความอบอุ่นช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตมารดาหลังคลอด โดยให้ความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด มีความรู้ ความเข้าใจที่ถุฏต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว

ร้อยละ 80 ของหญิงหลังคลอด มีความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการดูแล มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบตามเกณฑ์

ร้อยละ 100 ของหญิงหลังคลอดได้รับการดูลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 ก.พ. 63 กิจกรรมการอบรมมารดาหลังคลอด 0 23,700.00 -
รวม 0 23,700.00 0 0.00

1.จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ 2.ดำเนินการตามแผนการให้บริการแก่มารดาหลังคลอด 2.1อบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร การดูแลตัวเองที่เหมาะสมสำหรับหญิงหลังคลอดรวมทั้งบุคคลในครอบครัว 2.2อบรมให้ความรู้ท่ากายบริหารสำหรับมารดาหลังคลอด 2.3กิจกรรมบริการแม่หลังคลอด 2.3.1 ระยะเวลาในการให้บริการแม่หลังคลอด กรณีคลอดปกติ เริ่มให้บริการได้หลังคลอดแล้ว 7-10 วัน กรณีคลอดด้วยการผ่าตัด(รวมกรณีผ่าตัดทำหมันหลังคลอด) เริ่มให้บริการได้หลังผ่าตัด 30-45 วัน แล้ว เพื่อให้แผลบริเวณหน้าท้องทั้งภายในและภายนอกติดดีก่อน ทั้งนี้กรณีแม่หลังคลอดปกติและคลอดด้วยการผ่าตัด ต้องให้บริการภายใน 1 เดือน หลังจากเริ่มรับบริการได้แล้ว ถ้าเลยกำหนดเวลาดังกล่าวอาจไม่เกิดประสิทธิผล ให้บริการชุดกิจกรรมแก่แม่หลังคลอดไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน รวมไม่เกิน 5 ครั้ง (ให้บริการรับส่งผู้ป่วยฟรีในกรณีที่ผู้มารับบริการไมสามารถมารับบริการได้ 2.3.2 ขั้นตอนบริการอยู่ไฟ/การทับหม้อเกลือ มีการให้บริการวันละ 1 ครั้ง ๆละ ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ติดต่อกัน 5 ครั้ง หลังจากคลอดไม่เกิน 3 เดือน 2.3.2.1 นวดมารดาหลังคลอด เวลา 30 นาที 2.3.2.2 ประคบสมุนไพร เวลา 30 นาที 2.3.2.3 ทับหม้อเกลือ เวลา 15 นาที 2.3.2.4 อบไอน้ำสมุนไพร เวลา 30 นาที
2.3.2.5 ให้คำแนะนำ เวลา 5 นาที 2.3.3 ประเมินภาวะสุขภาพมารดาก่อนและหลังให้รับบริการ พร้อมให้คำแนะนำตามศาสตร์แพทย์แผนไทย 5.3 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีคลินิคแฟทย์แผนไทยสำหรับให้บริการหญิงหลังคลอด 2.มารดาหลังคลอดได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วภึง 3.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงหลังคลอดรวมถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 4.มารดาหลังคลอดที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยการแพทย์แผนไทยมีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2563 00:00 น.