กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง(CG) ปี 2563 ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง(CG) ปี 2563 ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า
รหัสโครงการ 63-L1473-01-0012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาโยง
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 23,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยยา วีระกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โดยที่ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๕๙ ข้อ ๕/๑ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม ความเหมาะสม ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนดและให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ แต่ให้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) ในชื่อบัญชี”กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” แยกออกจากบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพและข้อ ๗/๑ กำหนดให้นำเงินดังกล่าวใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยบริการหรือสถานบริการ ที่จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง สถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี วัยสูงอายุเกิดปัญหาสุขภาพและเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบกับผู้สูงอายุบางส่วนยังขาดความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม รวมทั้งไม่มีอาชีพ ทำให้ขาดรายได้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพและรักษาโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเจ็บป่วยมากขึ้น จากการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอนาโยง  จังหวัดตรัง ตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง พบว่า จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน คิดเป็นร้อยละ 1.86 และกลุ่มติดเตียง คิดเป็นร้อยละ 1.03 และมีแนวโน้มสูงขึ้น จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 6,602 คน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำรูปแบบการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ด้วยการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้รับการดูแลแบบองค์รวมอย่างผสมผสานทั้งด้าน  การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นการดูแลครอบคลุมทุกมิติ ทั้งสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุตั้งแต่ยังมีสุขภาพดี  ไม่ป่วย ให้ยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด โดยสนับสนุนให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งเป็นบริการเชิงรุกที่ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการต่อเนื่อง โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG) ซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด นั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living :ADL)

ร้อยละ..90....ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living :ADL)

1.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG.) สามารถดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เป็นการให้บริการในครัวเรือน

ร้อยละ.....80....ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giverจัดการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยบริการหรือสถานบริการ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) เพื่อจัดกลุ่มและวางแผนการดูแล 2 คัดเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG) จำนวน 10 คน
3 อบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG)
- ภาคทฤษฎี 29 ชั่วโมง - ภาคปฏิบัติ 1๙ ชั่วโมง 4 ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG) ฝึกภาคปฏิบัติ ในสถานบริการ และในชุมชน 5 จัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Plan
6 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) ที่ผ่านการอบรมลงเยี่ยมบ้านและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ ตาม Care Plan ที่ได้รับมอบหมาย 7 ผู้ดูแลระบบ (CM) ติดตามประเมินผลการเยี่ยมบ้านของ CG ตามแผนงาน 8. สรุปและประเมินผลกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) ได้รับการวางแผนการดูแลส่งเสริมสุขภาพ 2 ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Care Giver (CG) สามารถดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เป็นการให้บริการในครัวเรือน 3 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(Long Term Care)  

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2563 11:32 น.