กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภัยจากภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน แบบองค์รวม
รหัสโครงการ 63 - L1527-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 15,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 259 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถาณการณ์ของโรคเรื้อรังที่มีการขยายตัว อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่ เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในศตวรรษที่ 21 การดำเนินของโรคมีปัญหาซับซ้อนทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม นำไปสู่การเกืดภาวะ แทรกซ้อนที่เรื้อรังและรุนแรงได้ อาทิเช่น โรคหะวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการได้แก่ถูกตัดขา ตาบอด รวมทั้งทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแลมากที่สุดโรคหนึ่ง หากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนให้อยู่ในภาวะปกติได้ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไปได้ ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดตรังปี 2560-2562 (รายงานข้อมูลจังหวัด 43 แฟ้ม) จำนวน 24,018 25,231 และ 27,055 คนตามลำดับ และจากผลการตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c ผู้ป่วยเบาหวานเปรียบเทียบระหว่างปี 2560 ถึง 2562 พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีจำนวน 5,557 5,786 และ 7,310 คนตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 23.13 22.93 และ 27.02 ตามลพดับ ซึ่งมีแนวโน้มเริ่มลดลงเรื่อยๆ จากสถานการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา และเท้าเพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลเสียต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงขากสมรรถภาพในการประกอบอาชีพด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จากการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคะดกรองภาวะแทรกซ้อน ไต ตาม เท้า ปี 2562 พบว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน จำนวน 109 คนผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 10.09 ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า มีอาการชาปลายเท้าแต่ยังไม่สูญเสียการรับความรู้สึก จำนวน 50 คน คืดเป็นร้อยละ 45.87 มีแผลที่เท้าและได้รับการส่งต่อจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 5.50 ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน

ร้อยละของ อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน

79.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองหรือผู้ป่วยในครอบครัว

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองหรือผู้ป่วยในครอบครัว

80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้มีความรู้ความเข้าใจ ถึงบริบทในชีวิตประจำวัน กับการลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอยู่

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนซ้ำซ้อนได้มีความรู้ความเข้าใจ ถึงบริบทในชีวิตประจำวันกับการลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอยู่

50.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนมีอาการชา ปลายเท้า ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลดการเกิดแผลที่เท้า

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนมีอาการชา ปลายเท้า ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลดการเกิดแผลที่เท้า

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 259 15,540.00 0 0.00
7 ก.พ. 63 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. 79 4,990.00 -
7 ก.พ. 63 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน 80 3,500.00 -
7 ก.พ. 63 กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนซ้ำซ้อน 50 4,300.00 -
7 ก.พ. 63 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม"ฟื้นฟู ดูแลเท้า "ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า 50 2,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน 2.ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองหรือผู้ป่วยในครอบครัว 3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้มีความรู้ความเข้าใจ ถึงบริบทในชีวิตประจำวัน กับการลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอยู่ 4.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนมีอาการชา ปลายเท้า ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลดการเกิดแผลที่เท้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 00:00 น.