กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขตำบลสันนาเม็ง ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสันนาเม็ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณภัทร กุลสุวรรณ์ และคณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บจึงควรมีการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ การสุขาภิบาลอาหารมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการอาหารให้เกิดความสะอาด ความปลอดภัย และมีความ น่าบริโภค ด้วยการปรับปรุง บำรุงรักษา และแก้ไขให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการดำเนินการจัดการอาหารในทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกวัตถุดิบ การขนส่งและการเก็บรักษาอาหารดิบ การเตรียมและการปรุงอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จก่อนบริโภค เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยรวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงการประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือนในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งการบริโภคอาหารของประชาชนอาจมีความเสี่ยงจาการปนเปื้อนในอาหารทั้งจากสารพิษตกค้างเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆซึ่งเกิดจากสภาพปัญหาการสุขาภิบาล การขาดจิตสำนึกด้านสุขอนามัย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ร้านอาหาร(ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร)ถือเป็นต้นทางของแหล่งบริโภคที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องให้ความรู้ รวมถึงการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานทั้งด้านสุขาภิบาลคุณภาพอาหารและความปลอดภัยให้ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและถูกสุขลักษณะ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลสันนาเม็งจึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขตำบลสันนาเม็ง ปี 2563 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและ เป็นไปตามประกาศคณะอนุกรรมการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ข้อ 7.2.1 การส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ในสถานประกอบการ 7.2.4การส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ และเรื่องอาหารสะอาด ปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง

ผู้ประกอบการ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ และเรื่องอาหารสะอาด ปลอดภัยได้อย่างถูกต้องหลังการอบรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน

มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน

40.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ และผู้สัญจร มีแหล่งอาหารที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน อาหารปลอดภัย สามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง

มีแหล่งอาหารที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน อาหารปลอดภัย สามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง 20 ร้าน

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 289 20,100.00 0 0.00
24 ม.ค. 63 1.ขั้นเตรียมการประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 40 0.00 -
24 ก.พ. 63 3.จัดอบรมอาสาสมัคร อย.น้อย 40 7,000.00 -
20 มี.ค. 63 4.อบรมให้ความรู้ อสม.เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และปฏิบัติการ สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารในพื้นที่ 24 5,400.00 -
24 มี.ค. 63 2.จัดอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านชำ/ตลาดสด/ครูโรงเรียนอาสาสมัครงานคุ้มครอง ผู้บริโภค 40 3,200.00 -
24 เม.ย. 63 - 24 มิ.ย. 63 5.สุ่มตรวจซ้ำ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย ตลาดสด โดยแกนนำอสม.จำนวน 3 ครั้ง (เว้นระยะห่าง 1 เดือน) 85 0.00 -
24 มิ.ย. 63 6.สรุปผล ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย ตลาด ที่ผ่านมาตรฐานกำหนด มอบป้ายรับรองและประกาศเกียรติคุณ 60 4,500.00 -

1.ประชุมชี้แจงโครงการ 2.อบรมแกนนำนักเรียน แกนนำผู้ประกอบการ แกนนำครูอาสาคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน 3.พัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.เชี่ยวชาญ 4.สุ่มตรวจสารปนเปื้อน ในตลาดสด ร้านอาหารและตลาดนัด 5.สุ่มตรวจร้านชำทุก1 เดือน 3 ครั้ง 6.จัดตั้งศูนย์จัดตั้งศูนย์เตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนตำบลสันนาเม็ง 7.มอบป้ายรับรองและประกาศนียบัตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ และเรื่องอาหารสะอาด ปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง
2.มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน
3.ประชาชนในพื้นที่ และผู้สัญจร มีแหล่งอาหารที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน อาหารปลอดภัย สามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2563 00:00 น.