กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค
รหัสโครงการ 63-L5235-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ)
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกมลวรรณ ศรีสุวรรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภชัย เผือกผ่อง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) ได้เล็งเห็นความสำคัญการปลูกผักโดยใช้ระบบอินทรีย์ ปลอดสารเคมีและเป็นผักที่ตลาดต้องการในปัจจุบันเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับประทานผักปลอดสารเคมี ไม่ส่งผลต่อการเกิดโรคจากการสะสมสารเคมีในร่างกาย โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผักปลอดสารเคมีที่ใช้ในการบริโภคในโรงเรียนและจำหน่ายให้กับผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนใกล้เคียง การส่งเสริมการปลูกผักโดยใช้ระบบอินทรีย์เป็นการส่งเสริมให้การบริโภคผักเป็นที่นิยมและไม่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการใช้สารเคมี     ดังนั้น โรงเรียนวัดประดู่หอม จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครองในพื้นที่มีความรู้ สามารถปลูกผักอินทรีย์เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี ตลอดจนการสร้างค่านิยมในการบริโภคผักปลอดสารเคมี ใช้ระบบอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครู มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์มากขึ้น ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรค ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารเคมี

ตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักด้วยระบบอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 นักเรียนมีสุขภาพ อนามัย ที่สมบูรณ์ แข็งแรง นักเรียนรับประทานผักปลอดสารเคมี 100 %

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน       1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียดการดำเนินงานการจัดกิจกรรม       2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย     ขั้นดำเนินการ       1. ให้ความรู้ เกี่ยวกับการปลูกพืชโดยใช้ระบบอินทรีย์
      2. สาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
      3. สาธิตการทำน้ำสกัดชีวภาพ       4. การดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต
      ขั้นสรุปผล       1. ประเมินผลการทำงานของโครงการ
      2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ       ขั้นปรับปรุง/แก้ไข         นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครู มีความรู้เพิ่มขึ้นในการปลูกผักโดยใช้ระบบอินทรีย์
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง มีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย
  3. โรงเรียนมีผักปลอดสารเคมี ที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2563 13:48 น.