กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันตามวัยในเขต อบต.ตุยง ปี 63
รหัสโครงการ 63-L3065-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิก
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 20,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลหนองจิก
พี่เลี้ยงโครงการ มะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.819085,101.167962place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)
70.00
2 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมของตำบลตุยง 8 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2561-2562 พบว่า ผลของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี ได้แก่ วัคซีน BCG ร้อยละ 99.20,97.48HBV1 ร้อยละ99.20,97.48 , DTB-HB3OPV3 ร้อยละ 62.40,69.75 และ MMR1 74.40,73.95 , IPV1 ร้อยละ 20,76.47 , เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ 61.17,50.39และJE161.17,60.47 , เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีน JE2 ร้อยละ 61.54,58.02 , MMR2 ร้อยละ 61.54,58.02และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ 57.52,41.88 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC จากจังหวัดเดือนตุลาคม 2561,2562) จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงอายุหรือบางรายไม่ได้รับวัคซีน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น ได้แก่ โรคหัด , โรคคอตีบ และโรคไอกรน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคหัดในเขต อบต.ตุยง ช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561,2562 พบว่า เด็กในกลุ่มอายุต่ำกว่า 12 ปี เกิดโรคหัด จำนวน 5 ราย , 14 ราย จากการไม่ได้รับวัคซีนหรือบางรายได้รับวัคซีนไม่ครบ และเข้ารับการรักษานอนในโรงพยาบาล ระยะเวลา 4-8 วัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และภาวะปอดบวมรุนแรง เป็นต้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องดูแลบุตรอย่างต่อเนื่องและป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดต่อโรคหัดจากลูกโดยการใส่ผ้าปิดจมูก และรับบริการฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ในกลุ่มผู้สัมผัสทุกคนในครอบครัวที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ณ โรงพยาบาลใกล้บ้าน จากการวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองในชุมชน พบว่า สาเหตุการได้รับวัคซีนในเด็กไม่ครบตามเกณฑ์หรือไม่ได้รับ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ กลัวบุตรมีไข้ทำให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานและขาดรายได้ , ผู้ปกครองขาดความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการวัคซีน ณ สถานบริการสาธารณสุข , ผู้ปกครองไปประกอบอาชีพชายแดนมาเลเซียหรือต่างจังหวัด ทำให้เด็กขาดนัดการได้รับวัคซีนหรือไม่ได้ฉีด เด็กอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถมารับบริการได้ ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ทำให้ไม่พาบุตรหลานมาฉีด จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กในชุมชนตำบลตุยง ดังนั้นคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตุยงโดยโรงพยาบาลหนองจิก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และลดอัตราป่วยการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคหัด และโรคคอตีบ รวมทั้งพัฒนาระบบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยอาศัยเครือข่ายในชุมชน ติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับวัคซีน เพื่อให้ได้วัคซีนครบตามเกณฑ์ช่วงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

1.อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีครบตามเกณฑ์มาตรฐาน เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 90% (ยกเว้นวัคซีน MMR เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 95%)

70.00 90.00
2 อัตราการเกิดโรคป้องกันได้ด้วยวัคซีนในตำบลตุยงลดน้อยลงจากเดิม

2.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคคอตีบ เป้าหมาย ไม่เกิน 0.015 ต่อประชากรแสนคน
และโรคหัดในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ เป้าหมาย ไม่เกิน 4 ต่อประชากรล้านคน

0.00 0.00
3 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบมีการติดตามเด็กส่งคลินิกสุขภาพเด็กดี หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการเชิงรุกในพื้นที่ กรณีที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ที่รพ.

3.อัตราการติดตามเด็กขาดนัดโดย อสม.ในพื้นที่ครบทุกราย เป้าหมาย 100%

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 184 20,020.00 5 20,020.00
18 มิ.ย. 63 1. ประชุมเครือข่ายสุขภาพเรื่องวัคซีน ในเขตรับผิดชอบของ อบต.ตุยง เพื่อรับทราบข้อมูลและติดตามเด็กขาดนัดหรือไม่ได้รับวัคซีนในแต่ละไตรมาส จำนวน 3 ครั้ง 30 0.00 0.00
26 มิ.ย. 63 - 29 ก.ค. 63 อบรมผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยง และเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ที่ให้บริการส่งเสริมเรื่องวัคซีนเชิงรุกในรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการาธารณสุขได้ ใน 8 ชุมชน (สร้างจิตตระหนัก การมีส่วนร่วม) 154 20,020.00 20,020.00
26 มิ.ย. 63 - 29 ก.ค. 63 บริการฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ตามแผนงานคลีนิค 0 0.00 0.00
15 ก.ย. 63 ติดตาม สรุปผลการดำเนินงานบริการวัคซีน เป็นไตรมาส 0 0.00 0.00
8 ต.ค. 63 สรุป จัดทำรูปเล่ม รายงานผลการดำเนินงานส่งกองทุนฯ 0 0.00 0.00
  1. ประชุมเครือข่ายสุขภาพในเขตรับผิดชอบของ อบต.ตุยง เพื่อรับทราบข้อมูลเด็กขาดนัดหรือไม่ได้รับวัคซีนในแต่ละพื้นที่เป็นราย     ไตรมาส เพื่อติดตามการได้รับวัคซีน   2. ประชุมผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยงเรื่อง การใช้สมุดบันทึกสุขภาพมารดาและเด็ก เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับ     วัคซีน และให้บริการวัคซีนเชิงรุกในเด็กรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการสาธารณสุขได้
      3. ประเมินผลการดำเนินงานในทุกไตรมาส
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในชุมชนเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนน้อยลงจากเดิม
    1. ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและอาสาสมัครสาธารณสุขมีระบบในการติดตามเด็กเป็นราย พื้นที่รับผิดชอบ
    2. ลดการระบาดของโรคติดต่อที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน
    3. เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความเข้มแข็ง
    4. เกิดการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสุขภาพและการประชาสัมพันธ์กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2563 14:43 น.