กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการกรณีโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ (อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) )
รหัสโครงการ 63-L000-5-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต .บ้านพร้าว
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางขวัญจิตร ภูริปัญญานันท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 5,000.00
รวมงบประมาณ 5,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 3000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 2500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 265 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8950 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SERS) และเมอร์ส (MERS) ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงปัจจุบันนี้ พบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และมีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยื่นยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ระบาดของโรค ในประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อคงที่ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563 จำนวน 47 รายเสียชืวิต 1 ราย และพบผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 (COVID -19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนสามารถเข้าถึงเจลล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการจัดทำ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)และการจัดทำเจลล้างมือเพื่อการป้องกันตนเอง แก่หมู่บ้าน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) และผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนที่สนใจ โดยมุ่งหวังว่าทุกครัวเรือนสามารถจัดทำเจลล้างมือไว้ใช้เองและสมาชิกในครัวเรือนมีไว้ป้องกันโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์

ตัวชี้วัดผลผลิต(Outputs) ประฃาฃนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์(Outcomes) ร้อยละ 98 ประชาชนได้รับการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติเร่งด่วน

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 1 5,000.00
13 มี.ค. 63 โครงการการจัดการกรณีโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นทื่ 0 5,000.00 5,000.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อประธานกองทุนฯ และประสานผู้ที่เกี่ยวช้อง
    1. ประสานกลุ่มเป้าหมาย
    2. จัดหาสถานที่ /วิทยากร/ฯลฯ
    3. ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และสอนการทำเจลล้างมือไว้ใช้ในครัวเรือน/ชุมชน
    4. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำทุกภาคส่วนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
    1. สามารถส่งเสริมและสนับสนนุให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคระบาดด้วยตนเอง
    2. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของราชการให้แก่ประชาชน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
    3. สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) 5.ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2563 10:51 น.