กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหานักเรียนด้วยแซมพูสมุนไพรจากสะเดากับดอกอัญชัญ
รหัสโครงการ L8411-63-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทำนบ
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กรกฎาคม 2563 - 24 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 23,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิไลลักษณ์ สุขเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 109 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pediculus humanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบ่งส่วนเป็นปรสิต ที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศีรษะ เหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือโลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสาสารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคุลกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คือ อาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้ เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เป็นจุดขาว ๆ ตามเส้นผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้ว ยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดซ้ำ

ดังนั้น โรงเรียนบ้านทำนบ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียน และสำหรับนักเรียนที่ไม่เป็นเหาก็สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลตนเองและคนใกล้ชิดได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์

 

0.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียน

 

0.00
3 เพื่อลดการระคายเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหาแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

 

0.00
4 เพื่อผลิตแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบสะเดากับดอกอัญชัน

 

0.00
5 เพื่อให้นักเรียนที่ไม่เป็นเหาสามารถดูแลตนเองและดูแลคนใกล้ชิดได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 109 23,200.00 1 0.00
23 - 24 ก.ค. 63 อบรมกำจัดเหานักเรียนด้วยแชมพูสมุนไพร 109 23,200.00 0.00

3.1 ขั้นตอนการเตรียมการ/การวางแผน     3.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำโครงการและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อหาแนวทางในการจัด       โครงการ     3.1.2 เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ     3.2.1 ผู้เข้ารับการอบรมรับความรู้จากวิทยากรและปฏิบัติจริง
3.2.2 ผู้เข้ารับการอบรมฝึกทำแชมพูสมุนไพรจากสะเดากับดอกอัญชันจากวิทยากรและปฏิบัติจริง
    ดังนี้ - ล้างใบสะเดาและดอกอัญชันที่เตรียมไว้ให้สะอาด สับให้ละเอียดแล้วนำไปต้มให้เดือด
และกรองเฉพาะน้ำ
- นำส่วนผสมแชมพูมาผสมและคนให้เข้ากัน - เติมน้ำสมุนไพรใบสะเดาและดอกอัญชันที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน - เติมน้ำลงไปทีละน้อย จนน้ำหมด - พักทิ้งไว้ 1 คืน ให้หมดฟอง แล้วจึงบรรจุขวด   3.2.3 ผู้เข้ารับการอบรมใช้แชมพูที่จัดทำสระผมเพื่อกำจัดเหา ดังนี้   - นักเรียนสระผมด้วยน้ำเปล่าชำระสิ่งสกปรกที่อยู่บนเส้นผม   - สระผมด้วยแชมพูที่จัดทำขึ้นแล้วคุลมด้วยหมวกคลุมอาบน้ำ ทิ้งไว้ครึ่ง ชั่วโมงแล้วล้างแชมพู
  ออกและใช้หวีถี่หวีตัวเหาและไข่เหา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์
    1. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียน
    2. เพื่อลดการระคายเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหาแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน
    3. เพื่อผลิตแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบสะเดากับดอกอัญชัน
    4. เพื่อให้นักเรียนที่ไม่เป็นเหาสามารถดูแลตนเองและดูแลคนใกล้ชิดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 10:31 น.