กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมู่ที่ 9 ตำบลพนางตุง ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3323-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 9
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2563
งบประมาณ 9,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญเรือน คงนวน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อยแต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบรวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมีการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศและการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่นใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันทีเป็นต้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น     หมู่ที่ 9 ตำบลพนางตุง เป็นหมู่บ้านหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากกว่าร้อยละ 80ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ปลูกผัก ทำนาทำไร่ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราและจากการเฝ้าระวังตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปี 2562 พบเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมาตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 43 คนมีผลการตรวจเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวน10 และ 1คน คิดเป็นร้อยละ 23.26 และ 2.36ตามลำดับ ซึ่งผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่
    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในหมู่ที่ 9ตำบลพนางตุง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ทั้งยังขาดการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี เช่น หน้ากาก รองเท้าบู๊ท ถุงมือ เป็นต้น จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลพนางตุงได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยง เกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมู่ที่ 9 ตำบลพนางตุง ประจำปีงบประมาณ 2563” ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

1.เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ 30

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้สารเคมีในการ เกษตรที่ถูกต้องและปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม อสม. เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจโดยทีม อสม.
  3. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือดโดยใช้ชุดทดสอบกระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  4. ประสานกับหมู่บ้านในพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
  5. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกรโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
  6. แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย
    1. เพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 15:35 น.