กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) แบบครบวงจร ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 122,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณี จำปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลายพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สำหรับโรคไข้ติดเชื้อไวรัสชิก้า เป็นโรคระบาดใหม่ที่นำโรคโดยยุงลายบ้านเป็นตัวพาหะนำโรค และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิกุนคุนยา) นำโรคโดยยุงลายป่าเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคระบาดดังกล่าวทั้ง 3 โรค มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งต้องดำเนินการรณรงค์ตาม มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค
รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือด สะสมรวม 11,938 ราย อัตราป่วย 18.01 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 8 ราย จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 887 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ในจังหวัดยะลา ส่วนจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา 333 ราย รองลงมา คือ นราธิวาส 181 ราย, ปัตตานี 151 ราย, ยะลา 105 ราย, ตรัง 57 ราย, พัทลุง 51 ราย และสตูล 9 ราย สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลสทิงพระ เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดออก ดังนี้ คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 101.08 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2559 จำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 448.28 ต่อแสนประชากร ปี 2560 มีผู้ป่วย จำนวน 6 ราย ปีพ.ศ. 2561 พบผู้ป่วย 6 ราย ปีพ.ศ.2562 พบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายจำนวน 8 ราย (ข้อมูลจาก รพ.สทิงพระ) การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา ด้วย ARIMA modelโดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยย้อนหลัง 10 ปี (ปี พ.ศ. 2553-2562) ผลการวิเคราะห์ คาดว่าในปี 2563 จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประมาณ 140,000 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับการระบาดใหญ่ในปี 2558 โดยเชื้อไวรัส DEN-1 และ DEN-2 เป็นชนิดเชื้อเด่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง DENV-2 เป็นชนิดเชื้อไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ดังนั้น ในปี 2563 จึงอาจจะเป็นอีกปีที่มีการระบาดต่อเนื่อง และมีผู้ป่วยอาการรุนแรงและเสียชีวิตสูงเหมือนกับปี 2562 สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14 ปี)แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว (ที่มา: กรมควบคุมโรค มกราคม 2563)ซึ่งจากข้อมูลทางระบาดวิทยาและสภาพอากาศที่มีฝนตกทำให้มีแหล่งน้ำขัง กลางวันแดดร้อนทำให้ยุงลายเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น จึงต้องมีการควบคุมป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สาเหตุโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกคนทำได้ สามารถปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลในแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเลือดออกซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยตรงหรือกำจัดโรคโดยตรง จะใช้การรักษาตามอาการทำให้แต่ครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการดูแลรักษาบุตรหลาน และเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญคือถ้าไม่ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในระบบที่มีประสิทธิภาพ โรคไข้เลือดออกอาจจะระบาดได้ในชุมชน ซึ่งทุก ๆ คนก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า และโรคปวดข้อยุงลายจะได้ผลดีที่สุดต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน ทั้งในระยะก่อนเกิดโรค ในขณะที่เกิดโรค และการเฝ้าระวังหลังจากเกิดโรค
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำ “รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ชิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลายแบบครบวงจร ปี 2563” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้ซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เพื่อรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนที่พักอาศัยและชุมชนของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งถ้าครัวเรือนและชุมชนมีความสะอาด ไม่มีขยะ ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ไม่มีแหล่งน้ำขัง ไม่มีแหล่งสกปรกสะสมแล้ว โรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า และโรคปวดข้อยุงลาย หรือโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเองและปฏิบัติตนตามาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3โรค

1.จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปฏิบัติตนตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 ของเป้าหมายโครงการ

0.00
2 2.เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชนได้

1.ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรคไข้ซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือมีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 122,000.00 2 62,900.00
1 มิ.ย. 63 - 28 ก.พ. 64 การรณรงค์เชิงรุกเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย 0 62,000.00 9,000.00
1 มิ.ย. 63 - 28 ก.พ. 64 พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 60,000.00 53,900.00
  1. จัดทำโครงการ เสนอผู้บริหารขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน, อสม. ประชาชนในทุกชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน 3.แต่งตั้งคณะทำงานระดับชุมชน 4.ประสานงานกับหน่วยงาน/ องค์กรที่เกี่ยวข้อง 5.จัดกิจกรรมรณรงค์ ตามมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค อสม.แนะนำและชักชวนเพื่อนบ้านจัดบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคไข้เลือดออกและปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงาม เก็บขยะ รณรงค์คัดแยกขยะ
    6.จัดกิจกรรมรณรงค์พ่นหมอกควัน พ่นสเปรย์กำจัดยุงลาย แจกทรายเคมีฟอส ก่อนการเกิดโรค ขณะเกิดโรค และการเฝ้าระวังหลังการเกิดโรคอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน หรือกรณีพบผู้ป่วย 7.สรุปผลการจัดกิจกรรม/ผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายและตัวชี้วัด ปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรม/ผลสำเร็จของโครงการฯ
    8.รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ตามลำดับ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ เรื่องการจัดการบ้านเรือน และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบบ้านตามมาตการ 3 เก็บป้องกัน 3โรค
  2. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ
  3. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้ซิก้า โรคปวดข้อยุงลาย และโรคระบาดติดต่อในชุมชน/หมู่บ้านลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 00:00 น.