โครงการเกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช |
รหัสโครงการ | 63-L1485-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 มีนาคม 2563 - 23 มีนาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 22 เมษายน 2563 |
งบประมาณ | 8,313.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววิภาดา เกื้อสา ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 23 มี.ค. 2563 | 23 มี.ค. 2563 | 8,313.00 | |||
รวมงบประมาณ | 8,313.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกร มีความเสี่ยงจากการได้รับอันตราย จากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี โดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น
ตำบลปะเหลียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอกเป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชาชน มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผักทั้งที่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนและเพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความรู้ เรื่องการดูแลป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ อีกทั้งนี้ทางรัฐบาลและเครือข่ายต้านภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังมีการผลักดันไม่ให้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำพวก พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เป็นต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก จึงได้จัดทำโครงการ “เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย” ขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด โดยกิจกรรมประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด การให้คำแนะนำดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง สนับสนุนกระดาษทดสอบหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมเจาะเลือดตรวจคัดกรองฯ การจัดซื้อสมุนไพรรางจืดสำเร็จรูป และการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการ ประกอบอาชีพ
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืช มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน
1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2.2 เจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช
2.3 สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางจิต
2.4 ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
2.5 จ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
2.6 ตรวจประเมินสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงซ้ำ
3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
- เกษตรกรผู้ปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
- เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
- เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติ ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 10:35 น.