กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังชุมชนพุทธกิจจารักษ์
รหัสโครงการ 63-L7499-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนพุทธกิจจารักษ์
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2564
งบประมาณ 11,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารี ศิริเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแนวโน้มการเกิดโรคเรื้อรังมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวทางการดำเนินงานโดยเน้นวิธีการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรงเรื้อรัง ในการลดปัญหาโรคเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีเป้าหมายสำคัญคือ ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และรับการรักษาได้เร็วและถูกต้อง สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการทำงานเชิงรุก ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านจะทิ้งพระ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังชุมชนบ้านจะทิ้งพระ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลงร้อยละ 5

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลงร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปในชุมชน 0.00 0.00 -
1 - 15 ส.ค. 63 จัดอบรม อสม.ในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและวิธีการตรวจคัดกรองเบื่องต้น 12.00 1,980.00 -
1 - 15 ส.ค. 63 จัดหาวัสดุและเครื่องวัดความดันโลหิตสูง 0.00 10,000.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 ต.ค. 63 รณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวานและวัดความดันโลหิต 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดประชุม อสม. และเครือข่ายชุมชน เพื่อหาข้อสรุปและเสนอโครงการ
  2. จัดทำโครงการและเสนอโครงการ
  3. สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน
  4. กำหนดแผนการอบรม ประสานวิทยากร จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรม
  5. จัดอบรม อสม. ในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและวิธีการตรวจคัดกรองเบื้องต้น
  6. จัดหาวัสดุและเครื่องวัดความดันโลหิตสูง
  7. รณรงค์ตรวจคัดกรองวัดความดันโลหิตและเบาหวานให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้ผ่านการตรวจคัดกรองจากแบบประเมินจากวาจา
  8. สรุปผลการจัดกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และแนวทางในการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน /ความดันดลหิตสูง และสามารถรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองว่ามีระดับความเสี่ยงต่อเบาหวานและความดันดลหิตสูงเพียงใด 2.กลุ่มสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกรายได้รับการเฝ้าระวัง และการส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถป้องกันเบาหวาน/ความดันดลหิตสูงได้ในระยะยาวต่อไป 3.มีข้อมูลสถานะสุขภาพที่ถูกต้อง มีการจัดเก็บ วิเคราะห์ สามารถนำไปวางแผนงานสาธารณสุขเพื่อป้องกันและควบคุมเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 00:00 น.