กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกเนียน
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทูร ชิตมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2567 โดยเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี พ.ศ.2568 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี พ.ศ.2583 ประกอบกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้น  ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยทำงานและผู้สูงอายุ เป็นผลให้ประเทศต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาล จำนวนแพทย์และพยาบาล    ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในอนาคตขณะเดียวกัน เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากล  ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยจะนำไปสู่ผลลัพธ์    ที่พึงประสงค์ คือ เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย เพื่อให้บรรลุตามแผนงาน Promotion and Prevention Excellence ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข จำเป็นต้องดำเนินงานแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ และไม่รอให้เกิดปัญหา  แล้วจึงแก้ไข ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงานแบบบูรนาการ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ตั้งแต่ครอบครัว คลินิกสุขภาพเด็กดี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรพัฒนางานโภชนาการ ทันตสุขภาพ พัฒนาการ กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำในพื้นที่         จากการวิเคราะห์สถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบปีงบประมาณที่ผ่านมา พบปัญหาอุปสรรคต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย ที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กปฐมวัยในหลายประการ ได้แก่ ปัญหาในส่วนร้อยละของเด็กมีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนอยู่ที่    ร้อยละ 54.28 (เกณฑ์ตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 57) , ร้อยละเด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ยอยู่ที่ ร้อยละ 16.67 (เกณฑ์ตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 10 )ร้อยละเด็กปฐมวัยมีภาวะผอมอยู่ที่ ร้อยละ 6.94 (เกณฑ์ตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 5) และร้อยละความครอบคลุมของเด็ก 9 18 30 และ 42 เดือนได้รับการคัดกรองพัฒนาการและพบสงสัยพัฒนาการล่าช้าอยู่ที่ ร้อยละ 34.65 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการองค์รวม  และด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย คือ การศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งวิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการจัดประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย         ดังนั้น เพื่อการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาให้การบริการและส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่สมวัยรอบด้านในเด็กปฐมวัย

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ

 

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสสังคมและประชาสัมพันธ์การสร้างความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 51 38,100.00 3 38,100.00
1 - 31 พ.ค. 63 กิจกรรมสร้างกระแสสังคมและประชาสัมพันธ์การสร้างความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัย 0 12,250.00 12,250.00
30 มิ.ย. 63 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานเด็กปฐมวัย 6 10,150.00 10,150.00
7 ส.ค. 63 แรลลี่สายใยรัก 45 15,700.00 15,700.00
  1. จัดทำแผนงานโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าโพธิ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ   2. จัดอบรมให้ความรู้พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก เรื่องการดูแลสุขภาพรอบด้านในเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ครอบครัว พร้อมให้ทำกิจกรรมหลังจากการอบรมเป็นฐานแรลลี่สายใยรักเพิ่มความผูกพันในครอบครัว และประเมินผลการอบรมทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรม   3. จัดอบรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ เรื่อง การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยเครื่องมือ DSPM จำนวน 6 คน   4. ออกพื้นที่เชิงรุกโดย อสม.ในการประชาสัมพันธ์ตามจุดหลักต่างๆในชุมชนโดยใช้สื่อไวนิล เพื่อสร้างกระแสสังคมและความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุมในพื้นที่รับผิดชอบ   5. จัดมุมให้ความรู้ NDDC ในคลินิกสุขภาพเด็กดีให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อผู้ใช้บริการ   6. ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บริการและส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัยได้มาตรฐาน ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ได้แก่ บริการสุขภาพเด็กดี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผ่านเกณฑ์คุณภาพ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 15:45 น.