กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการกู้ชีพ และช่วยชีวิตทางน้ำเบื้องต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ 63-L5300-3-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 36,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัฐรินีย์ จิตต์หลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ และสูงมากกว่าอุบัติเหตุจากการจราจรถึง 2 เท่า โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการเผอเรอชั่วขณะของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เช่น รับโทรศัพท์ เปิด-ปิด ประตูบ้าน ทำกับข้าว ซึ่งบางครั้งไม่คิดว่าแหล่งน้ำในภาชนะในบ้านจะทำให้เด็กจมน้ำได้ เนื่องจากเด็กเล็กมีการทรงตัวไม่ดี จึงทำให้ล้มในท่าศีรษะทิ่มลงได้ จึงมักพบเด็กจมน้ำสูงในแหล่งน้ำภายในบ้าน หรือรอบ ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำ กะละมัง แอ่งน้ำ บ่อน้ำ (เด็กสามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ในแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงเพียง 1-2 นิ้ว) ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มโตและซน จะเริ่มออกไปเล่นนอกบ้าน การจมน้ำสูง มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก การที่เด็กว่ายน้ำไม่เป็น และการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่จะเห็นว่าเด็กวัยนี้จะเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละ หลาย ๆ คน เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก พอเห็นเพื่อนหรือน้องตกน้ำ คิดว่าตัวเองว่ายน้ำเป็นจึงกระโดดลงไปช่วย แต่สุดท้ายจะกอดคอกันเสียชีวิต แหล่งน้ำที่พบเด็กจมน้ำคือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น บ่อขุดเพื่อการเกษตร คลอง แม่น้ำ บึง แต่ถ้าหากว่าผู้พบเห็นคนตกน้ำจมน้ำแล้ว มีหลายกรณีที่พบว่าคนจมน้ำรอดชีวิตเพราะได้รับการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลที่เร็วและถูกวิธี จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เพราะตั้งแต่เด็กตกลงไปในน้ำจนจมอยู่ใต้น้ำ เวลาเพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการกู้ชีพ และช่วยชีวิตทางน้ำเบื้องต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕63 ขึ้น เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติจริงในการช่วยชีวิต ผู้ประสบภัยทางน้ำขั้นพื้นฐาน สามารถช่วยชีวิตผู้อื่น และเกิดแนวทางการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ โดยโรงเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจมน้ำ

ผู้เข้าอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 36,060.00 2 35,060.00
2 - 31 มี.ค. 63 จัดอบรมให้ความรู้ 50 33,760.00 32,900.00
1 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันจุดเสี่ยง เลี่ยงเด็กจมน้ำ 50 2,300.00 2,160.00

1.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ 2. จัดอบรมให้ความรู้
  2.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ   2.2 การรู้จักเอาชีวิตรอดเมื่อประสบภัยทางน้ำ   2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ   2.4 การปฐมพยาบาล ด้วยการผายปอดและการนวดหัวใจให้กับผู้ประสบภัยทางน้ำ   2.5 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ 3. กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันจุดเสี่ยง เลี่ยงเด็กจมน้ำ   3.1 สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน   3.2 เฝ้าระวังและแจ้งเตือน เช่น ประกาศเสียงตามสายในชุมชน ตักเตือนเมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลำพัง   3.3 จัดการแหล่งน้ำให้ปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน ให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่าผูกเชือก ขวดน้ำพลาสติกเปล่า และไม้ เป็นต้น 4. สรุปและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล ร้อยละ 100 2. ผู้เข้าอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล 2. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจมน้ำและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 16:19 น.