กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใกล้ใจ ไกลโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ในตำบลท่าโพธิ์ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกเนียน
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทูร ชิตมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 144 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าล้ำไปมาก สามารถที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ซึ่งสามารถทำให้ประชากรโลกมีสุขภาวะโรค หายจากการเจ็บป่วยและมีอายุขัยที่สามารถชะลออายุขัยได้ยืนยาวขึ้น แต่มีโรคเรื้อรังคือโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักและเป็นสาเหตุลำดับต้นๆของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยเรื้อรัง สาเหตุหลักมาจากยุคสมัยบริโภคนิยม การบริโภคแบบเร่งด่วน นิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานอาหารที่มีรสหวานมาก ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคโซเชียล ( Social Media ) พฤติกรรมดังกล่าวนี้ เป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไขมันในเลือดสูง เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง
ในตำบลท่าโพธิ์ จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง จำนวน ๘๖๔ คน และที่รับการรักษาและรับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน จำนวน ๑๒๐ คน ส่วยใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นำไปสู่การเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตในอนาคต ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเยี่ยมบ้านและการสร้างจิตสำนึก ความตระหนัก ผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยเรื้อรังที่เป็นโรคหลอดเลือดมักมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การรับประทานยาที่ไม่ต่อเนื่อง และด้วยอายุของผู้ป่วยมักลืมทานยา ซึ่งมีผลในการ อย่างมาก ในการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ในอนาคต ดังนั้นเพื่อเป็นป้องกัน การเกิดโรคอัมพฤต อัมพาต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียนจึงได้จัดทำโครงการใกล้ใจ ไกลโรค ในตำบลท่าโพธิ์ เพื่อการจัดการตนเองและเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อน ต่างๆตลอดจนรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมได้ ร้อยละ ๕๐

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมได้ ร้อยละ ๔๐

0.00
3 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ลดลง

อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย โรคเบาหวาน น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 2

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 144 19,400.00 1 19,400.00
30 ม.ค. 63 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังที่รับการรักษาในคลินิกโรคเรื้อรังและติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังที่รับการรักษานอกคลินิก 144 19,400.00 19,400.00

1 จัดทำแผนงานโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าโพธิ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2 รวบรวมรายชื่อผู้ป่วยเรื้อรัง นำร่อง ปี ๒๕๖๓ จำนวน ๑๔๔ คน จากผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมดในตำบลท่าโพธิ์ จำนวน ๘๖๔ คน
  3 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ที่รับผิดชอบเป้าหมายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
  4 ออกพื้นที่เชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามและสร้างทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างสุขภาพจิตดี เพื่อสร้างกระแสสังคมและความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุมในพื้นที่รับผิดชอบ     กิจกรรมที่ 1 ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน  เดือน  ละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบกับผลในคลินิก     กิจกรรมที่ ๒ วิเคราะห์ผลและประเมินผล โดยใช้รูปแบบปิงปองจราจร เจ็ดสี เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยใช้ทั้งในคลินิกและที่บ้าน
    กิจกรรมที่ ๓ ให้สุขศึกษาในเรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานยา
    กิจกรรมที่ ๔ ประเมินสุขภาพจิตโดยใช้หลัก 2 Q
    5 ประเมินผล ติดตามและวิเคราะห์เพื่อดูความเสี่ยงโดยใช้ปิงปองจราจร
    6 ส่งพบแพทย์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการเยี่ยมบ้านในครั้งนี้ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี และผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 09:31 น.