กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ส่งเสริม ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะท้อน ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2481-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดลอม องค์การบริหารส้่วนตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 36,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน มะเก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย จากรายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลตากใบในปลายปีงบประมาณ 2562 มีจำนวนผู้ป่วยกระจายทุกพื้นที่ในตำบลเกาะสะท้อน คาดการณ์อาจระบาดถึงปีงบประมาณ 2563
ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน จึงได้วางแผนเพื่อควบคุมการระบาดตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เห็นควรจัดทำโครงการ รณรงค์ ส่งเสริม ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลเกาะสะท้อน ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ในฤดูการระบาด อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการระบาดของโรค โอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็น การลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทัน

การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะท้อน

ประชาชนความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะท้อน ร้อยละ90

0.00
3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM)

มีทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM) ที่เข้มแข็ง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 36,720.00 0 0.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 150 22,720.00 -
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 14,000.00 -
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. จัดประชุมทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียน ผู้นำชุมชน ศาสนา เพื่อสร้างเครือข่ายควบคุมโรคเข้มแข็ง ในเขตตำบลเกาะสะท้อน
  4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. อบรมให้ความรู้นักเรียนในโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนรวมถึงหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนในพื้นที่ ให้มีความรู้และสามารถถ่ายทอดไปยังชุมชนได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
  6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่
  7. สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยวิธี ๕ ป ๑ ข และใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  8. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน ทุกๆวันศุกร์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข นักเรียน และทีม SRRT ในเขตตำบลเกาะสะท้อน
  9. จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ทุกๆวันศุกร์ มัสยิด วัด โรงเรียนและสถานที่ราชการ
  10. ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการแจกสเปรย์พ่นสารเคมีบ้านผู้ป่วยและบริเวณพื้นที่ระบาด พ่นหมอกหรือการพ่นฝอยละออง ก่อนการระบาดของโรคและช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะท้อน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์
  2. สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน มัสยิดและวัด ที่เป็นแหล่งโรค
  3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะท้อน ได้ทันท่วงที
  4. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลเกาะสะท้อน
  5. สามารถสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM)
  6. สามารถสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  7. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 12:48 น.