กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปัญญาสูงวัย สมุนไพรท้องถิ่น
รหัสโครงการ 63-L5284-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงวัย ห่วงใยสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2020 - 11 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 3 ตุลาคม 2020
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอเฉ็ม บูเดียะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ณ.ตลาดนัดประชารัฐ ม.5 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาภาต่าง ๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทั้ง ๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคม วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกสืบทอดต่อลูกหลานในสืบทอดองค์ความรู้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้เรื่องสมุนไพรเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ โดยใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกายโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้าน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมการอบรม มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการผ่อนคลายได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนสตอ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ได้แก่ แผ่นพับ สมุนไพรตัวอย่าง เป็นต้น   4.1 อบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรท้องถิ่นและการนำไปใช้ประโยชน์   4.2 กิจกรรมฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันตำบลควนสตอ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้พืชสมุนไพรในชุมชน
2.ผู้สูงอายุมีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
3.ผู้สูงอายุสามารถผ่อนคลายร่างกายโดยใช้สมุนไพรท้องถิ่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2020 14:08 น.