กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
รหัสโครงการ 63-L1485-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2563 - 27 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 27 มีนาคม 2563
งบประมาณ 9,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูตินุช เพชรหิน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้อย.น้อย  มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ  จึงได้จัดโครงการโครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหาร การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้แก่แกนนำ อย.น้อย และเพื่อให้แกนนำ อย.น้อย ที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคลอื่นในโรงเรียน และชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้กลุ่มนักเรียนอย.น้อย ได้มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือดซื้อเลือดบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

 

0.00
2 1.2 เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

 

0.00
3 1.3 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆในโรงเรียนและชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 25 9,775.00 0 0.00
27 มี.ค. 63 กิจกรรมอบรมโครงการอบรมโครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน 25 9,775.00 -

2.1 ประสานงานและขอความร่วมมือจากหน่วยงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.2 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.3 ดำเนินการอบรม อย.น้อย
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารเบื้องต้นแก่
        อย.น้อย และแนะนำการเฝ้าระวังในการเลือกซื้ออาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอาง
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และให้แกนนำฝึกปฏิบัติ 2.4 ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีแกนนำนักเรียน อย.น้อยในโรงเรียน 2.ครูอนามัยโรงเรียนและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน อย.น้อย 3.แกนนำนักเรียน อย.น้อย สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจ และตรวจสิ่งเจือปนในอาหารเบื้องต้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 14:33 น.