กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสวนผักคนเมืองส่งเสริมสุขภาพใส่ใจสิ่งแวดล้อมชุมชนจารูนอก (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 2 – 24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนจารูนอก เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 55,905.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหะมุ สุไลมาน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนจารูนอก เทศบาลนครยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ จากการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันมะเร็งโรงพยาบาลศิริราชและหน่วยมะเร็งตามโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง ได้ยืนยันว่า คนไทยเป็นมะเร็งกันมากขึ้น สาเหตุของโรคมะเร็งจากการศึกษาทั้งในและต่างประเทศไทยสามารถบอกได้ว่า มาจากสารพิษหรือสารก่อมะเร็งซึ่งปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราที่ได้รับหรือสัมผัสอยู่ทุก ๆ วัน นั่นเอง เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนอยู่ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม หรือยารักษาโรค ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการกิน การอยู่เป็นสำคัญ และจากสถานการณ์การเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ ประจำปี 2561 โดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผลการดำเนินโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด ตามเกณฑ์มาตรฐานของไทย โดยการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด จำนวน 41 ชนิด รวม 7,054 ตัวอย่าง จากทั่วประเทศ พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 88.8 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 11.2 นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้เก็บตัวอย่างจากแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 2,007 ตัวอย่าง และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 2,372 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่า ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 93.7 และ 91.0 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางรายใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง และจากการเฝ้าระวังฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 ที่มีการเก็บตัวอย่างจากโรงคัดบรรจุผักผลไม้ จำนวน 715 ตัวอย่าง พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.6 จากห้างสรรพสินค้า จำนวน 1,317 ตัวอย่าง พบว่า สินค้าที่ได้รับการรับรอง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.4 และ สินค้าที่ไม่ได้รับการรับรอง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 71.8 ตลาดค้าส่งและตลาดสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 64.9 และครัวโรงพยาบาล ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 77.8 โดยมีผักผลไม้สดที่พบปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ พริก ถั่วฝักยาว คะน้า ส้ม และมะเขือเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีการปนเปื้อนสารเคมีในผักและผลไม้สดถึง ร้อยละ 11.2 ประกอบกับสถิติปริมาณขยะชุมชน เขตเทศบาลนครยะลา (ข้อมูลสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ปี 2562) พบว่า มีขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 55.98 ขยะรีไซเคิล (กระดาษ ขวดแก้ว กระป๋อง) คิดเป็นร้อยละ 25.8 และขยะทั่วไป (พลาสติกและโฟม) คิดเป็นร้อยละ 18.2 ซึ่งครัวเรือนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลาส่วนใหญ่ไม่มีการจัดการขยะอินทรีย์หรือเศษอาหาร มีการทิ้งขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จนเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงและพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ และหนู เป็นต้น รวมทั้งส่งกลิ่นเหม็น เสี่ยงต่อการเกิดโรคและเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน       ปัจจุบันพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา มีความเจริญ และพัฒนาหลายด้าน สภาพพื้นที่จึงเป็นชุมชนเมือง มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมากขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหาร จากเดิมที่ทำการเกษตรและผลิตวัตถุดิบไว้บริโภคเองในครัวเรือน เปลี่ยนเป็นการซื้อวัตถุดิบจากตลาดสดมาประกอบอาหารหรือซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้ามาบริโภคในครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารแต่ละมื้อว่าเจือปนด้วยสารอันตรายชนิดใดบ้าง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยที่ตามมาจากการรับประทานอาหาร หรือภาวะคุกคามทางด้านสุขภาพจากการบริโภคอาหาร จากข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Date Center : HDC) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2562 พบว่า อัตราป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกต่อแสนประชากร เท่ากับ 84.63 และ 28.21 อีกทั้งการซื้ออาหารมาจากร้านค้าและตลาดยังสร้างปริมาณขยะให้เกิดขึ้นในชุมชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ที่จัดการไม่ถูกสุขลักษณะก่อให้เกิดมลพิษ แมลง และพาหะนำโรคในชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป       จากสถานการณ์ดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชุมชนจารูนอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคผักและผลไม้สดจากท้องตลาดที่มีการปนเปื้อนสารเคมีตกค้างและจากสภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีการจัดการขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการสวนผักคนเมืองส่งเสริมสุขภาพใส่ใจสิ่งแวดล้อมชุมชนจารูนอกขึ้น โดยให้ครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกต้อง เริ่มจากการนำเศษอาหารครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ เตรียมดินจากเศษอาหารไว้สำหรับปลูกผักปลอดสารเคมีบริโภคในครัวเรือน เพื่อส่งเสริมและป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารแก่ประชาชนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับสารพิษ สารปนเปื้อน ที่อยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม
  1. ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีค่าคะแนนความรู้ภายหลังการอบรมเพิ่มขึ้น
0.00
2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมีและจัดการขยะในครัวเรือนแก่ประชาชนให้สามารถดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง
  1. ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะในการเตรียมดิน การปลูกผักปลอดสารเคมี และการจัดการขยะในครัวเรือน
0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน
  1. ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมสามารถปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือนได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 55,905.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงานและรับสมัครครัวเรือนต้นแบบนำร่องปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน เป้าหมาย คณะทำงาน จำนวน 15 คน ประชาชนทั่วไปจากครัวเรือน จำนวน 60 คน รวมเป็น 75 คน 0 750.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมการเตรียมดิน ทำสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ และการจัดการขยะ เพื่อนำเศษอาหารครัวเรือนมาใช้เตรียมดิน พร้อมลงเตรียมดินเพื่อการปลูกผัก ณ ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เป้าหมาย คณะทำงานและครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 75 คน 0 24,885.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมเรื่องการปลูกผักอินทรีย์และฝึกปลูกผักในครัวเรือน ณ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการซึ่งได้มีการเตรียมดินเพื่อการปลูกไว้แล้ว เป้าหมาย คณะทำงานและครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 75 คน 0 27,285.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล และประเมินผลสำเร็จ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค รวมถึงการพัฒนาต่อยอดผลผลิตจากผักปลอดสารพิษ เป้าหมาย ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการและคณะทำงาน จำนวน 75 คน 0 2,985.00 -
  1. สำรวจข้อมูลครัวเรือนของชุมชน และข้อมูลสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ   2. ให้ความรู้เรื่องการเตรียมดิน ปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน และการจัดการขยะแก่ชุมชน   3. ให้ครัวเรือนได้ปฏิบัติตามกิจกรรมตามโครงการ   4. ประเมินผลการอบรม   5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีคณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจและมีตัวเเทนจากชุมชนที่สามารถดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ   2. ชุมชนมีความรู้และความตระหนักเรื่องอาหารปลอดภัยและการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน   3. ชุมชนมีข้อมูลปัญหา อุปสรรค และผลสำเร็จจากการทำโครงการ และสามารถนำมากำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันโรคจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย   4. ประชาชนในชุมชนได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ทำให้ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีปนเปื้อนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 00:00 น.