กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและพัฒนาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
รหัสโครงการ 60 – L7890-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2560 - 16 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (58,325.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จากข้อมูลภาวะทางโภชนาการของนักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงในปีการศึกษาที่ผ่านมา นักเรียนแรกเข้าจะมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 14 คน ซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ท้วม เริ่มอ้วน จำนวน 7 คน นักเรียนที่มีภาวะผอมน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ค่อนข้างผอม จำนวน 7 คน นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนร้อยละ 50 ไม่ทานอาหารเช้ามาจากบ้านและมีบางส่วนที่นิยมมาซื้ออาหารเช้าที่ไม่มีประโยชน์รับประทานเช่นข้าวเหนียวหมูปิ้ง/ไก่ปิ้ง ข้าวเหนียวไก่ทอด ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและพัฒนาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ นักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
  1. นักเรียนร้อยละ 80 มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์อายุ
2 ข้อที่ 2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  1. นักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กผู้ดูแลเด็กผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก
  1. ครูผู้ดูแลเด็กผู้ดูแลเด็กผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาหารกลางวัน มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการ 1.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตง 1.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุกเดือน และแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับ เด็ก 0 – 6ปี กรมอนามัย
  2. จัดทำแผนแก้ปัญหาร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง,ครู,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,แม่ครัว 2.1 จัดอบรมให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็กผู้ดูแลเด็กผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาหารกลางวัน เกี่ยวกับการจัดอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก 2.2 จัดให้ครูผู้ดูแลเด็กผู้ดูแลเด็กผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาหารกลางวัน ศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก (ในพื้นที่จังหวัดสงขลา) เกี่ยวกับการจัดอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก 2.3 จัดอบรมผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลพะตง เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย 2.4 พัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐานให้กับเด็กโดยครู
  3. จัดให้มีอาหารว่างเช้าให้กับนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  4. จัดให้เมนูอาหารกลางวันที่เน้นให้นักเรียนได้รับ ไข่ ตับ เพิ่มขึ้น และปรับปรุงเมนูอาหารให้มีคุณภาพ ไม่มีไส้กรอก ลูกชิ้น
  5. การสื่อสารข้อมูลกับผู้ปกครองให้กับนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ อย่างน้อย 3 ครั้ง
    5.1สมุดบันทึกสุขภาพ 5.2 เยี่ยมบ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพะตงมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 - 6 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2560 13:23 น.