กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี
รหัสโครงการ 020112560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านปากแพรก
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมหมายรักสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และ พาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน และปัจจุบันบ้านเมืองของเราเต็มไปด้วยขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ที่แต่ละบ้านต่างนำมาทิ้งโดยไม่คำนึกถึงผลที่จะตามมาทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์มีจำนวนมากขึ้น การสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรลดลง ส่งผลให้ผักมีราคาสูง ชุมชนบ้านปากแพรก ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงเล็งเห็นถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและมองเห็นประโยชน์ของขวดพลาสติกและเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำขวดพลาสติกเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าโดยการนำเอาขวดพลาสติกมาทำเป็นกระถางปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง สามารถช่วยลดปริมาณขยะ ลดโลกร้อนอีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑เพื่อต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย

 

2 ๒.๒ เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องเกษตรในเมืองและชานเมือง

 

3 ๒.๓ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของกลุ่มคนในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคนเมืองมากขึ้น

 

4 ๒.๔ ศึกษาและพัฒนาร่วมกัน ในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อให้เหมาะแก่การเกษตรแบบพอเพียงโดยปราศจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ

 

5 ๒.๕ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า ลดขยะในชุมชน สังคม และลดภาวะโลกร้อน

 

6 ๒.๖เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนที่เป็นอยู่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 มิ.ย. 60 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและดูแลผักอินทรีย์ 30 10,020.00 10,304.00
รวม 30 10,020.00 1 10,304.00

ขั้นเตรียมการ ๔.๑มีการประชุมวางแผนการให้ความรู้จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสาน สมาชิกที่ปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ ๔.๒ ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เรื่องการปลูกผักในขวดพลาสติกและเกษตรเขตเมือง และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
๔.๓ จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสานงาน ขั้นปฏิบัติ
๔.๔ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก และดูแลผักอินทรีย์ เพื่อให้สมาชิกที่ร่วมโครงการได้ศึกษาก่อนลงมือปฏิบัติ ๔.๕ แจกจ่ายและ แลกเปลี่ยนพันธุ์ผัก ๔.๖ กระตุ้นการนำเสนอ ของผู้เข้าร่วมโครงการ ในการแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดวิทยาการซึ่งกันและกัน ๔.๗ จัดให้มีการนำเสนอผลผลิต อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดระยะเวลาตามความเหมาะสม ขั้นประเมินผล ๔.๘ การนำเสนอผลงานที่กำลังเพาะปลูก และ ผลผลิตที่สำเร็จแล้ว
๔.๙มีการสำรวจความก้าวหน้าของโครงการ โดยวัดจาก อัตราการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อการบริโภค (จำนวนครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ) ๔.๙ปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตในการเพาะปลูกดีขึ้น

ขั้นปรับปรุงและพัฒนา
๔.๑๐มีการสรุปปัญหาที่ได้ จากการดำเนินการที่ผ่านมา โดยดูตัวชี้วัด จากการประเมินผล และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ๔.๑๑ ส่งเสริม ให้เกิดธนาคารพันธุ์พืชสวนครัว สำหรับให้บริการสมาชิก ๔.๑๒ประชาสัมพันธ์โครงการเสียงตามสายของเทศบาล ก่อนและหลังดำเนินการ

เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา ๖เรื่อง ดังนี้ 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวแบบอินทรีย์จำนวน๑ ชั่วโมง 2. ประโยชน์ของผักสวนครัวและการปลูกผักสวนครัวจำนวน๑ ชั่วโมง 3. ผักสวนครัวที่ใช้ปลูกจำนวน ๑ ชั่วโมง 4. การวางแผนการปลูกผักสวนครัว จำนวน ๑ชั่วโมง 5. วิธีการปลูกและการดูแลรักษา จำนวน ๐.๕ชั่วโมง ๖. สาธิตการปลูก จำนวน ๑.๕ ชั่วโมง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑สมาชิกที่ร่วมโครงการเกิดทักษะและสามารถปลูกผักได้อย่างถูกวิธี ๘.๒ สมาชิกที่ร่วมโครงการมีความรู้และนวัตกรรมในการปลูกผักอินทรีย์ ๘.๓ สมาชิกที่ร่วมโครงการสามารถพัฒนาอาชีพ และมีงานทำที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ๘.๔ สมาชิกที่ ผู้ร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ๘.๕ ผลผลิตของสมาชิก มีคุณภาพดี และปลอดภัย
๘.๖ ครอบครัวสมาชิกได้รับประโยชน์จากการปลูกผักบริโภคเอง ประหยัด และ ส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียง ๘.๗ลดทรัพยากรขยะในชุมชนและลดภาวะโลกร้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2560 13:32 น.