กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก 0-72 เดือน ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6961-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัณนิกา น้อยน้ำเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการประเมินผลการเฝ้าระวัง ทางภาวะโภชนาการเด็ก อายุ 0-72 เดือน ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จากการดำเนินงาน ปี 2562 พบว่า เด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 6.68 เด็กที่มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.03 อัตราความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละ 90.44 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งเด็กวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโต เด็กปฐมวัย(0-72 เดือน)เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิต มนุษย์เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมากทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ อวัยวะที่เจริญมากที่สุดในระยะนี้คือสมอง และเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารนั้น เด็กจะมีการพัฒนาสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้ามักพบว่า เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีปัญหาขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่นๆ และเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ง่าย ดังนั้นจึงได้มีระบบการเฝ้าระวังภาวะขาดสารอาหารโดย การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็ก เพื่อติดตามและการวางแผนแก้ไข การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้รู้สถานการณ์ และดำเนินการส่งเสริมภาวะโภชนาการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ การเน้น การติดตา่มเป็นรายบุคคลการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

อัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด 0-72 เดือน ร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบิดา-มารดาและผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

อัตราเด็ก 0-72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนมากกว่าร้อยละ 54

0.00
3 3. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน

อัตราเด็ก 0-72 เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 7

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 230 35,700.00 0 0.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/คัดกรองพัฒนาการ/ติดตามวัคซีน 210 8,400.00 -
12 มิ.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 20 27,300.00 -
  1. กิจกรรม การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและคัดกรองพัฒนาการและติดตามวัคซีน
  2. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความครอบคลุมในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการและการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-72 เดือน
  2. บิดา-มารดา ผู้ดูแลเด็กเห็นความสำคัญในการดูแลบุตรหลาน
  3. เด็ก 0-72 เดือน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2563 00:00 น.