กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ในพื้นที่ตำบลแป-ระ
รหัสโครงการ 63-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.พ. 2563 30 ก.ย. 2563 19,750.00
รวมงบประมาณ 19,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศและในระดับชุมชนมาช้านาน อีกทั้งเชื้อไข้เลือดออกที่มีหลายประเภทและมีความรุนแรงที่ต่างกันโดยจรวย สุวรรณบำรุงและคณะ (2554) ได้อธิบายว่าโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Hemorrhagic Fever) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะและเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขยากแก่การควบคุมให้ได้ผลสำเร็จ นอกจากนี้กันต์ธมน สุขกระจ่างและคณะ(2559) ยังได้อธิบายอีกว่าการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ผลดีที่สุด คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและการป้องกันไม่ให้ยุงกัด อีกทั้งกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข(2556) ยังมีนวัตกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีการกำจัดพาหะ การป้องกันประชาชนไม่ให้ถูกยุงกัดตลอดจนการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อไม่ให้เกิดการขยายพันธ์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้ดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแป-ระ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้กิจกรรมวาระตำบล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นมา ทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแป-ระ ลดลง เป็นอย่างมากประสบความสำเร็จ เชิง Outcome และ Output โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวน 196 ราย ลดลงเหลือ 28 ราย ในปี พ.ศ. 2560 และมีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 52 ราย และในปี 2561 ยังพบผู้ป่วย ชิคุนกุนย่า ซึ่งเป็นโรคติดต่อโดยยุงเป็นพาหะ จำนวน 11 ราย จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว โดยประสารความร่วมมือกันทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่ตำบลแป-ระ ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค 1.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ทุกภาคส่วนในตำบลแป-ระ มีการรณรงค์ สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายพร้อมกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. เพื่อควบคุมโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค 2.2 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ควบคุมจำนวนผู้ป่วยไม่เกิน 99 คน หรือไม่เกิน 994.69 ต่อแสนประชากร ประเมินจาก จำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นจริง ในปีงบประมาณ 2562

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณ 4.2 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 ดำเนินงานตามโครงการ 4.4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรค
    1. อัตราป่วย ไม่เกิน 994.69  ต่อแสนประชากร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 11:28 น.