กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิถีชุมชน สมุนไพรสร้างสุข
รหัสโครงการ L3328-60-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี ยอดศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นายบุญธรรม แสงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานาน แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าสมุนไพร ภูมิปัญญาก็ถูกบทบังและถูกทอดทิ้ง คนส่วนใหญ่ก็พอรู้จักกันบ้าง สมุนไพรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ใช้ประโยชน์ได้จริงและใช้ได้อย่างกว้างขวาง เยาวชนรุ่นหลังรู้จักสมุนไพรน้อยหรือแทบไม่รู้จักเลย ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์ จึงจัดทำโครงการวิถีชุมชน สมุนไพรสร้างสุข เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของพืชสมุนไพรไทย เพื่อนำมาซึ่งทางเลือกในกาดูแลสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล

คนในชุมชนหันมาใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

2 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

มีสวนสมุนไพร 2 แปลง และมีชนิดของสมุนไพรตามที่กำหนด

3 เพื่อให้ชุมชนได้เกิดจิตสำนึกในการสืบทอดสิ่งที่ดีมีคุณค่าของชุมชน

 

4 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง 2.เขียนโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน 3.จัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4.จัดหาและปรับปรุงสถานที่ เตรียมพื้นที่ปลูกสมุนไพร กำหนดชนิดพืชสมุนไพรที่จะปลูก 5.รายงายผลดครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล 2.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น 3.ชุมชนมีแปลงสมุนไพร จำนวน 2 แปลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2560 10:03 น.