กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2482-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 31,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 31,150.00
รวมงบประมาณ 31,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7016 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า (Chikunggunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิด เชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปยังเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิด แต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6 - 12 เดือน หลังระยะนี้แล้วคนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด๋งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วยป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปี และพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จากสถิติพบว่าในพื้นที่ตำบลโฆษิตมีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิตจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อดำเนินการในการป้องกันและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลโฆษิตได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ

อัตราการเกิดโรคลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในเวลา 1 ปี

100.00
2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข

ปริมาณลูกน้ำยุงลายตามสถานที่เป้าหมายลดลงร้อยละ 90

100.00
3 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูและตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ประชาชนทุกกลุ่มอายุตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,150.00 3 31,150.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมการจัดซื้อ 0 8,500.00 28,300.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมออกพื้นที่ 0 2,850.00 0.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมเตรียมความพร้อมและกิจกรรมการกำหนดพื้นที่ 0 19,800.00 2,850.00
  1. กจกรรมเตรียมความพร้อม

- ประชุมประสานการดำเนินงานระหว่างครู ผู้นำชุมชน สมาชิกสภา อบต. อสม. รพ.สต. และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนและผสมผสานการดำเนินกิจกรรม - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 2. กิจกรรมการกำหนดพื้นที่ - สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้าน สถานที่ราชการ - สรุปผลความชุกของแต่ละพื้นที่ - จัดลำดับพื้นที่ที่จะดำเนินการ ก่อน- หลัง 3.กิจกรรมการจัดซื้อ - จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง - จัดซื้อน้ำยาเคมี 4. กิจกรรมการออกพิ้นที่ - ออกประชาสัมพันธ์รณรงค์ตามหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆภายในตำบลตามลำดับ - พ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2560 11:35 น.