โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |
รหัสโครงการ | 60-L3331-2-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด |
วันที่อนุมัติ | 22 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุทธิดาสงนุ้ย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางจุฑามาส รัตนอุบล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.451,100.157place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามมติการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2530 ได้กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งประเทศไทยได้ยึดถือปฏิบัติและยืนยันเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยมีหน่วยงาน/องค์กรภาคี ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์พิเศษต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2530 จนถึงปัจจุบัน
ปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง
โดยคณะรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 เห็นชอบการขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมุ่งสร้างความเข้าใจถึงเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สร้างการรับรู้และดำเนินการให้มีความเชื่อมโยงด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการรณรงค์สร้างกระแสของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้าที่ของเทศบาล มาตรา ๕๐ (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (๗)ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ มาตรา ๑๖ (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส (๑๔) การส่งเสริมกีฬา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | - เพื่อปลูกจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายสุขภาพอนามัยและส่งผลกระทบต่อปัญหาของสังคมตลอดความมั่นคงของชาติ
- เพื่อควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติดและลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา
- เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ให้ห่างไกลยาเสพติด
- เพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬา ออกกำลังกายต่อต้านยาเสพติด
- เพื่อเป็นการรวมพลังจากทุกภาคส่วนของสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กนักเรียนรวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการกระทำความดีตั้งแต่วัยเด็กให้มีการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๓.๑ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
๓.๒ ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๓ ดำเนินงานตามโครงการ
รูปแบบกิจกรรม
๕.๑ การบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายสุขภาพอนามัยและส่งผลกระทบต่อปัญหาของสังคมตลอดความมั่นคงของชาติ
- กิจกรรมส่งเสริมการเล่นกีฬาให้ความรู้เกี่ยวกับ กฎ กติกา มารยาทการเล่นกีฬา ฝึกทักษะการเล่น และกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านยาเสพติด
-ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เน้นความสามัคคีการเสียสละ และการมีส่วนร่วม
-เป็นการขัดเกลาจิตใจ โน้มน้าวใจเด็กให้เกิดความรักประเทศชาติรักชุมชนรักสังคม และรักตนเอง เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
- กิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนเรียนรู้การทำงานเป็นทีมการเข้าสังคมการแสดงความคิดเห็นยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง
๓.๔ ประเมิลผลโครงการ/สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
๗.๑ การแพร่ระบาดของยาเสพติดลดลง ๗.๒ เด็กมีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด ๗.๓ เด็กมีภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดและใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬาไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด ๗.๔ เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียง ๗.๕ เด็กมีความรู้ เกิดความเข้าใจ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ๗.๖ ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 10:46 น.