กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการNo Foam No Plastic For Food ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L8369-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปะลุรู
วันที่อนุมัติ 4 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 พฤษภาคม 2563 - 4 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งเเวดล้อม เทศบาลตำบลปะลุรู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปหลายๆด้านประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การประกอบอาหารด้วยตนเองลดน้อยลง ประชาชนหันมาพึ่งพาร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านค้าแทน ซึ่งพบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าหันมาใช้โฟมและถุงพลาสติกบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย โฟมและถุงพลาสติกมีสารพิษสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คือ สารสไตรีน (styrene)เบนซิน (Benzene)ไวนิลคลอไรด์ (vinylchloride) สารมอนอเมอร์ (monomer) และสารไดออกซิน (dioxins)ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี ความจำเสื่อม สมาธิสั้น และเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หากได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ จึงทำให้พบพิษภัยสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนแฝงมากับอาหารสู่ผู้บริโภคผ่านภาชนะบรรจุอาหารประเภทโฟมและถุงพลาสติกได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งโฟมและถุงพลาสติกก็ยังส่งผลกระทบก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจปริมาณขยะปี 2561ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีปริมาณ 27.37 ล้านตันโดยมีขยะประเภทโฟมถึง 700, 000 ตัน ซึ่งขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบต่อวันเป็น 61 ล้านใบต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบต่อคนต่อวัน โดยเฉพาะในสถานที่หรือในเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก ซึ่งขยะประเภทโฟมที่มีความคงทน ใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 100 ปีหรือไม่ย่อยสลาย ส่วนขยะประเภทถุงพลาสติกมีจำนวนมากกว่า2 ล้านตันขณะเดียวกันไทยติดอันดับ 6 ที่มีขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและถุงพลาสติกยังใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากกว่า 450 ปี จึงสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงาน ต้นทุนการกำจัดสูงเปลืองพื้นที่ฝั่งกลบ และกระบวนการกำจัดขยะโฟมและถุงพลาสติกที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย จากปัญหาดังกล่าวเทศบาลตำบลปะลุรูได้เชิญชวนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปะลุรูร่วมรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมและถุงพลาสติกบรรจุอาหารและมาเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยทดแทน เทศบาลตำบลปะลุรูจึงได้จัดทำโครงการ No Foam No Plastic For Foodขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมและถุงพลาสติก
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมและถุงพลาสติก
0.00
2 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ภาชนะที่บรรจุอาหารที่ปลอดภัยแทนโฟมและใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
  1. ประชาชนหันมาใช้ภาชนะที่บรรจุอาหารที่ปลอดภัยแทนโฟมและใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกร้อยละ 80
0.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะกล่องโฟมและถุงพลาสติกในเขตเทศบาลตำบลปะลุรูให้มีปริมาณลดลง
  1. ขยะในเขตเทศบาลตำบลปะลุรูลดลงร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,550.00 0 0.00
??/??/???? 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหารและถุงพลาสติก 0 17,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมและถุงพลาสติก
    1. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปะลุรูได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
    2. ขยะในเขตเทศบาลตำบลปะลุรูมีปริมาณลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2563 09:37 น.