กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมทักษะกาย - ใจ ผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 158,296.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์และการสาธารณสุขมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนยืนยาวขึ้นทำให้จำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 แต่การเตรียมความพร้อมรองรับผู้สูงอายุยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะ "ชุมชน" ซึ่งใกล้ชิดและรู้จักสภาพปัญหา ตลอดจนความต้องการผู้สูงอายุในชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่การสื่อสารที่ฉับไวทั่วถึงทุกมุมโลกส่งผลให้จิตใจของคนเปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมมีปัญหาทางสังคมบุตรหลานแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปัญหาทางร่างกายของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนแปลงจากที่เคยแข็งแรงทำงานได้ก็ไม่แข็งแรงทำงานน้อยลงมีผลถึงภาวะเศรษฐกิจต้องกลายเป็นผู้พึ่งพิงบุตรหลานหรือบางคนขาดการช่วยเหลือดูแลมีปัญหาทางด้านจิตใจ เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น ผู้สูงอายุปรับตัวปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตนี้ตามมารวมทั้งเป็นวัยแห่งการเสื่อมโทรมทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตนำไปสู่ภาวะพึ่งพาและทุพพลภาพความต้องการการดูแลมากขึ้น การส่งเสริมสุขภาพนับว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา
จึงมีแนวความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวสังคมในด้านการรักษาพยาบาล โดยในปีงบประมาณ 2562 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา ได้จัดกิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุมาแล้ว เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และได้สำรวจขอความเห็นจากผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน พบว่าผู้สูงอายุต้องการการจัดกิจกรรมในรูปแบบของการอบรม อย่างต่อเนื่อง และมีกิจกรรมที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การบูรณาการการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกิจกรรมเรียนรู้ต่าง ๆ ศาสนากับผู้สูงวัย ตลอดจนการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ เพื่อได้เพิ่มพูนความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีการพัฒนาความคิดและมีความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในสิ่งที่ได้ศึกษาดูงานเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุและพัฒนากิจกรรมในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ที่ได้ผ่อนคลายร่างกายด้วยการแช่น้ำร้อนโดยวิธีธรรมชาติบำบัด และสัมผัสบรรยากาศภายนอก ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมดูแลส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยสูงอายุเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพกายและใจที่ดี ลดการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมทักษะกาย ใจ ผู้สูงอายุ ขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุที่ผ่านหลักสูตรสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ อยู่ร่วมในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีความสุข และสามารถเป็น ผู้สูงอายุต้นแบบให้กับชุมชนและสังคมได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ ๒. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ๓.เพื่อเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุจากการเข้าร่วมกิจกรรม ๔.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต้นแบบ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 158,296.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมอบรมทักษะกายและใจ 50 78,296.00 -
1 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมศึกษาดูงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 50 80,000.00 -
  1. ประชุมชี้แจง เสนอแผนโครงการแก่คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรมและศึกษาดูงาน
    2. จัดกิจกรรมการอบรมโดยรูปแบบหลักสูตรอบรมมีระยะเวลา 11 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 หน่วยการอบรมหลัก คือ 3.1 กิจกรรมการอบรมทักษะกายและใจ สัปดาห์ละ ๑ วัน ๆ ละ ๖ ชั่วโมง (ทุกวันอังคารของเดือน) มีทั้งหมด ๖ หมวดเรียนรู้ ได้แก่ 3.3.1 การเกษตรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 12 ชม. 3.3.2 การดูแลสุขภาพด้วยหลักการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุ จำนวน ๖ ชม. 3.3.3 การดูแลสุขภาพตนเองกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 12 ชม.
      3.3.4 การออกกำลังกาย โยคะบำบัดและบาสโลปผู้สูงอายุ จำนวน 18 ชม. 3.3.5 ธรรมะบำบัด จำนวน 6 ชม.
      ๓.๓.๖ นันทนาการบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน ๖ ชม. 3.2 กิจกรรมศึกษาดูงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 2 วัน 1 คืน ณ จ.กระบี่ ๔. ประเมินผลการเรียนรู้ตามทักษะการอบรมแต่ละหมวด ๆละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง
      ตลอดโปรแกรมการอบรม ๕. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ ลดอัตราการเกิดปัญหาด้านสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุ ๘.๒ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและชะลอการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดตามวัย ๘.๓ คงไว้ซึ่งผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมคือเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายและใจที่พึงประสงค์สามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ ๘.๔ ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทาง วิธีการในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตจากกลุ่มอื่น ๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2563 10:47 น.