กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5194-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 83,379.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.อ.นภดล อุนตรีจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.88,100.818place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่น เป็นกองทุนที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานขององค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นในการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  เน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใน 5 ลักษณะ คือ
1. การจัดซื้อบริการชุดสิทธิประโยชน์ 2. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยบริการสาธารณสุขที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น 3. การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น 4. การบริหารจัดการ/พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 5. ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จึงจำเป็นต้องมีการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของกองทุนฯ ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอมปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสุนนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง

พิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสุนนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ

0.00
2 เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

รายงานสถานะการเงินทุกไตรมาสบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

0.00
3 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม มีประสิทธิภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
    • กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    • ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
    • จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
    • จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
  3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
    • จัดประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม  เข้าร่วมประชุม รวม 4 ครั้งต่อปี และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
    • เบิกเงินค่าตอบแทนการประชุมเพื่อจ่ายให้กับคณะกรรมการกองทุนที่มาประชุมและคณะอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนที่เข้าร่วมประชุมตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม ข้อ 31 ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ ที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน 400 บาทต่อ 1 ครั้ง คณะอนุกรรมการฯ ได้รับค่าตอบแทน 300 บาทต่อ 1 ครั้ง

- สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสุนนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง
  2. ทำให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  3. ทำให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2563 10:53 น.