กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดอาวุธ เพื่ิอส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในชุมชนตำบลแป-ระ
รหัสโครงการ 63-1-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2563
งบประมาณ 26,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ก.พ. 2563 30 ก.ย. 2563 26,900.00
รวมงบประมาณ 26,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วน ทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยในด้านการส่งเสริมป้องกันและรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ คือ ปัญหาด้านการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้จากการซักประวัติและสอบถามพฤติกรรมการใช้ยา ส่วนใหญ่จะพบว่า รับประทานยาไม่ครบโด๊สส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการดื้อยา รับประทานยาไม่ตรงเวลา ระยะเวลาการใช้ยาไม่ถูกต้อง รับประทานยาโดยไม่จำเป็น การซื้อยามารับประทานเองจากร้านชำในชุมชน และการเลือกใช้ยาเองโดยไม่เหมาะสมกับโรค พฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการแพ้ยา ดื้อยาหรือร่างกายต่อต้านยา ทำให้ยากต่อการหายามารักษาทดแทนในอนาคตได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนประวัติเป็นผู้ป่วยแพ้ยาในเขตตำบลแป-ระ จำนวน 166 ราย จึงเห็นว่าปัญหานี้มีความสำคัญและควรได้รับการส่งเสริมและป้องกันอย่างต่อเนื่อง แม้การดำเนินงานด้านตัวชี้วัดของเจ้าหน้าที่ในด้านการใช้ยาหรือจ่ายยาแก่ผู้ป่วยจะผ่านเกณฑ์ชี้วัด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่พบปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข จากการดำเนินงานเกี่ยวกับด้านการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลทำได้เพียงให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ เท่านั้น แต่ยังไม่เคยมีมาตรการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งลงพื้นที่ไปให้ความรู้ด้านการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างจริงจังในชุมชน จากปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น       ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นความสำคัญและผลที่อาจตามมาเกี่ยวกับพิษภัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการและพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่พึงประสงค์ของคนในชุมชนตำบลแป-ระ หากไม่ได้รับการแก้ไขและรณรงค์ หรือประชาสัมพันธ์ด้านการใช้ยาปฏิชีวนะและพิษภัยที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของประชาชนในชุมชนอย่างจริงจัง อาจจะส่งผลให้เป็นปัญหาระดับชาติที่ยากจะเยียวยาในอนาคตหากยังไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่บัดนี้ โดยการส่งเสริม กระตุ้น ถ่ายทอด และปลูกฝัง จนนำไปสู่พื้นฐานการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ“ติดอาวุธ” เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา
          2. จัดทำโครงการ เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ และขอสนับสนุนงบประมาณ   3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ   - ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจวัตถุประสงค์และขั้นตอนการ
        ดำเนินงานในการขับเคลื่อนโครงการ   - สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ   - รณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนในชุมชนตำบลแป-ระ   - พัฒนาศักยภาพการใช้ยาในชุมชน โดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่ง     กันและกันเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย ครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และ     ยาสเตียรอยด์   - เฝ้าระวังแหล่งจำหน่ายยาหรือแหล่งกระจายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ในชุมชน
    1. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์เพิ่มมากขึ้น   2. ในชุมชนเกิดภาคีเครือข่ายทั้งแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ และประชาชนตำบลแป-ระ มีส่วนร่วมช่วยกันเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2563 11:27 น.