กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 63-L8015-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาํธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณา ราชนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.689,101.142place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง สามารถพบในนประขากรทุกเพศทุกวัย ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม ทำให้มีผลต่อระบบบดเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย โดบเฉพาะถ้าเกิดในเด็กก่อนวัยเรียน ทำให้เด็กไม่อยากรับประทานอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ปัญหาฟันน้ำนมผุในเด็กหากมีการลุกลามในบริเวณกว้างและมีอัตราผุที่เร็ว อาจต้องสูญเสียฟันตั้งแต่อายุยังน้อย ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีผลในการป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนคือ พฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็กของผู้ปกครอง ซึ่งคารจะเริ่มแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ที่เด็กเริ่มมีฟันซี่แรกขึ้นในช่องปาก และช่วยแปรงต่อไปจนกว่าเด็กจะมีทักษะมือดีที่ดีในช่วงอายุประมาณ 6-8ปี การแปรงฟันมีผลในการลดฟันผุ เนื่องจากการแปรงฟัน จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อ พฤติกรรมการแปรงฟันจึงมีอิทธิพลสำคัญต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพนั้นปัจจัยหลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือความตระหนักของผู้ปกครองในการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เนื่องจากการดูแลสุขภาพช่องปากนั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับกิจวัตรประจำวันที่จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอถึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ยั่งยืน สำหรับตำบลนาประดู่เป็นหนึ่งตำบลที่พบปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กจำนวนมาก เนื่องจากเด็กในช่วงวัยดังกล่าวจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุมากอาทิ เด็กสามารถเลือกรับประทานเองได้มากขึ้นมีพฤติกรรมการเรียกร้องผู้ปกครองมากขึ้น และที่สำคัญความตระหนักของผู้ปกครองในการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมีน้อย แม้ว่าเด็กช่วงอายุ 1 ปีครึ่งถึง 3 ปี เด็กส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านกับผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูก็ตาม ประกอบกับทันตบุคคลากรเองก็ไม่มีช่องทางที่จะสามารถเข้าไปกระตุ้นผู้ปกครองให้เอาใจใส่สุขภาพช่องปากของเด็กอย่างใกล้ชิดและครอบคลุมทุกพื้นที่ นอกจากจำเป็นต้องสร้างและอาศัยเครือข่ายในพื้นที่โดยเฉพาะในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจิตอาสาด้านทันตสุขภาพในการช่วยดำเนินกิจกรรมติดตามและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับการบริการทันตสุขภาพครบถ้วนตามโปรแกรมทันตสุขภาพแบบบูรณการในการป้องกันฟันผุ ร้อยละ 80

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กได้มีความรู้ มีทักษะในการแปรงฟันให้เด็กอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

 

0.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายด้านทันตสุขภาพในการติดตามเยี่ยมบ้านคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 26,980.00 0 0.00 26,980.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติจริง 120 26,980.00 - -
รวมทั้งสิ้น 120 26,980.00 0 0.00 26,980.00
  1. ประชุมเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านทันตสุขภาพเพื่อหารือแนวทางในการดำเนินกิจกรรม
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่
  3. นัดกลุ่มเป้าหมายนามแผนปฏิบัติงานเพื่อมารับบริการทันตสุขภาะตามโปรแกรมทันตสุขภาะแบบบูรณาการในการป้องกันฟันผุ ประกอบด้วย
  4. ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลทันตสุขภาพในช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปี
  5. คัดกรองประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุ
  6. การตรวจฟัน
  7. ฝึกปฏิบัติจริงแก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายในการแปรงฟันให้มีประสิทธิภาพ
  8. ทาฟลูออไรด์วานิชแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อป้องกันฟันผุ
  9. ติดตามเยี่ยมบ้าน/กลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รับบริการทันตสุขภาพคนลถ้วนนตามโปรแกรมทันตสุขภาพแบบบูรณาการในการป้องกันฟันผุ
  2. เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุลดลง
  3. ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันใหเด้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เครือข่ายด้านทันตสุขภาพมีการติดตามเยี่ยมบ้านคัดกราองกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2563 17:21 น.