กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ในพื้นที่หมู่ที่ 3,6,12 และหมู่ที่ 13 ตำบลชัยบุรี
รหัสโครงการ 63-L3352-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านมะกอกใต้
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 13,518.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิติธาน ณ พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.697,100.093place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศเกษตรกรรมประเทศหนึ่ง ที่สามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรสำหรับบริโภคภายในประเทศได้อย่างพอเพียง อีกทั้งยังมีผลผลิตส่งเป็นสินค้าออก นำเงินรายได้เข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศในแต่ละปีคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จึงทำให้เกษตรกรมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตรายและวิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประกอบกับศัตรูพืชมีการดื้อยา จึงมีการใช้สารเคมีแรงขึ้น มีความเข้มข้นสูงขึ้น ใช้บ่อยครั้งมากขึ้น หรือผสมสารเคมี 2 ชนิดขึ้นไป ทำให้ผู้ใช้สารเคมีมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว แนวโน้มสถานการณ์ปัญหาการป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงมีแนวโน้มที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนตำบลบ้านมะกอกใต้มากขึ้น อันตรายจากสารเคมีจะมีผลต่อร่างกายหลายอย่าง อาทิเช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอื่นๆ ซึ่งส่งผลระยะยาวทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ตำบลชัยบุรีเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปี นาปลัง ปลูกผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลชัยบุรียังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับสุขภาพโดยตรง
จากการดำเนินโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ปี 2562 มีประชาชนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน ๒๐2 คน ผลการตรวจพบว่า ไม่มีสารเคมีตกค้างในเลือดระดับปกติ 27 คน ร้อยละ 13.36 ,ระดับปลอดภัย 141 คน ร้อยละ 69.80,มีความเสี่ยง ๒9 คนร้อยละ 14.36 และมีสารเคมีตกค้างในเลือดระดับที่เป็นอันตราย 5 คน ร้อยละ 2.47  และคนที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจซ้ำเพื่อหาสารเคมีในเลือดครั้งที่ 2 พบว่า ปกติ 4 คน,ปลอดภัย ๒0 คน,มีความเสี่ยง 4 คน,ไม่ปลอดภัย – คน     ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะกอกใต้ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ต่อเนื่องในปี ๒๕63 ในพื้นที่หมู่ที่ ๓,๖,๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด เพื่อเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมายได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้เกษตรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

0.00
3 3 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจฯ 200 คน และกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 13,518.00 5 13,518.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1.ค่าวัสดุการตรวจคลอลีนเอสเตอเรสในเลือด ขอรับการสนับสนุน จาก สสอ.เมืองพัทลุง รพ.พัทลุง 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 2.ค่าเข็มเจาะปลายนิ้วกลุ่มเป้าหมาย 200 800.00 800.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 0 5,000.00 5,000.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 4.ค่าสมนาคุณวิทยากรในการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 7,200.00 7,200.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 5.ป้ายไวนิลโครงการ 0 518.00 518.00

1.เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ 2.สำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประเมินผล 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ 5.ดำเนินการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีตกค้างในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเป้าหมาย 6.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันการใช้สารเคมีที่ปลอดภัย 7.ติดตามเจาะเลือดสารเคมีตกค้างในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเป้าหมายที่ผลอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 8. สรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลให้กองทุนฯ ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการเจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ๒. เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๙๐ ๓. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีในเลือดระดับเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ๔.ประชาชนมีความตระหนักในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2563 11:48 น.