กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการใกล้บ้านใกล้ใจห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม หมู่ที่ ๘ บ้านท่าหมอไชย ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 2563-L5275-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่8
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 24,243.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมปอง จันสี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็ง เป็นปัญหาทุกประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน การควบคุมโรคมะเร็งมีเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดในโลก จะมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ ๔๕-๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ประมาณร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนานมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ๒๕๕๐) สำหรับตำบลทุ่งตำเสา ในปี ๒๕๖๑ สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ ถึง ๖๐ ปี ในตำบล มีทั้งหมด ๔,๕๗๔ คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear จำนวน ๕๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๐๙ (ค่าเป้าหมายร้อยละ ๖๐) ค้นหาข้อมูลจาก รพ.สต.บ้านหินผุด ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อย บ้านท่าหมอไชย หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้จัดทำประชาคม ภายในหมู่บ้าน เพื่อค้นหาปัญหา ด้านสาธารณสุข พร้อมทั้งกำหนดให้มีวาระสุขภาพของหมู่บ้าน การสร้างวิถีสุขภาวะแก่ประชาชนชาวบ้านท่าหมอไชย โดยพบปัญหาว่า หญิงสตรีอายุ ๓๐ -๖๐ ปี เข้าถึงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ได้น้อยมากและในปี ๒๕๖๓ พบจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม เพิ่มเป็น ๓ คน โดยที่มะเร็งที่ป่วยเยอะที่สุดในผู้หญิง คือ มะเร็งเต้านม รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก เนื่องจาก การเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก น้อย หลายๆเหตุผล เช่น เดินทางไกลไม่สะดวกไป ไม่ตระหนักถึงภัยโรคมะเร็ง
อสม.บ้านท่าหมอไชย จึงได้เล็งเห็นถึงการ เข้าถึงการคัดกรอง เบื้องต้น และการมีความรู้ ความตระหนักในกลุ่มสตรี จึงได้เชิญเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้และคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ในปี ๒๕๖๓ ที่ ศสมช. จำนวน ๒ วัน ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้คัดกรองจำนวน ๔๐ คน (เชิญไป ๕๐ รายในสองวัน) คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๖๑ ของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด ๑๙๔ คน จะเห็นได้ว่า การให้ความร่วมมือมาคัดกรองฯที่ ศสมช. ที่ในชุมชน ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จะให้ความสำคัญ และมาตามที่ อสม.นัดหมาย และมีการพูดคุยถึงสภาวะของโรค มะเร็งกันอย่างทั่วถึง ทำให้ บ้านท่าหมอไชย เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม ให้ความรู้แก่ ผู้หญิงเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของประชาชนทางด้านนี้ จึงจัดทำเขียนโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการใกล้บ้านใกล้ใจห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม พร้อมกับจัดทำนวัตกรรมให้แก่ชุมชนขึ้น ในปี ๒๕๖๓

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐–๖๐ปี ได้รับความรู้ผ่านเกณฑ์ เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

๑. สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐–๖๐ปี มีความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ ๘๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองผ่านเกณฑ์การประเมิน

๒. สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ ๖๐

0.00
3 ข้อที่ ๓. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี เข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

๓. สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐-๖๐ ปี มาตามบัตรเชิญ ร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียมการ กิจกรรมที่ ๑. : ประชุมคณะทำงาน         - ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา โรคมะเร็งตามโครงการ อสม.หมู่ที่ ๘ จำนวน ๘ คน เจ้าหน้าที่ ๒ คน คนรวม ๑๐ คน (ชี้แจง วันอบรมของแต่ละรุ่น และชี้แจงการเขียนทะเบียน) ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

ขั้นตอนการดำเนินการ กิจกรรมที่ ๒. การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มสตรี อายุ ๓๐-๖๐ ปี       ๒.๑ อบรมให้ความรู้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ม.๘ จำนวน ๑๓๔ (กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด ๑๙๔ คน เลือกกลุ่มเป้าหมายการทำโครงการครั้งที่ ๑ ร้อยละ ๗๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน ๒ รุ่น (ตามตารางแนบ)       ๒.๒ อบรมฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสาธิตการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยนวัตกรรม เป็ด เป็ด กิจกรรมที่ ๓. รณรงค์เรื่องการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก       ๓.๑ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการคัดกรอง         ๓.๒ จัดทำบัตรเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้มาคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยเชิญเจ้าหน้าที่ มาให้บริการ

กิจกรรมที่ ๔. ติดตามกลุ่มเป้าหมาย หลังที่ได้รับบัตรเชิญ       ๔.๑ ทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลังได้รับบัตรเชิญ กิจกรรมที่ ๕. ติดตามเยี่ยมบ้าน พร้อมเจ้าหน้าที่ในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลผิดปกติ ขั้นตอนการสรุปผล กิจกรรมที่ ๖. สรุปรายงานการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ในพื้นที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๒.สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2563 13:33 น.