กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เติมยาเติมใจผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 63-L3352-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านอ้ายน้อย
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 22,918.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกนกพร ศรีรัตนพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.697,100.093place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูและปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อย่างต่อเนื่อง จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี 2555 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง และพบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขไทยเปิดเผยว่า คนไทยป่วยด้วย ๕ โรค ไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย เพิ่มขึ้นนาทีละ ๑ คน โดยในปี ๒๕๕๑ พบผู้ป่วยสะสมจำนวนกว่า ๒ ล้านคน ซึ่งไม่เพียงมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ มากมาย เช่น ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ฟันและเหงือก ซึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผู้ป่วยคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ คุมความดันโลหิตไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ได้แก่ ไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และการถูกตัดขา/ตัดนิ้ว
มาตรการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ โดยลดระดับความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรค  ซึ่งจากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้ายน้อย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 246 คน  แยกเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน  จำนวน 59 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 187 คน  พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 4.88 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเสี่ยงทางไต ระดับ 3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้ายน้อย มีการจัดบริการคลินิกโรคเรื้อรัง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง ในวันจันทร์ที่ 2 ของเดือน มีผู้มารับบริการที่คลินิก ทั้งหมด 100 คน โดยการบริการได้คำนึงถึงคุณภาพการดูแล การจัดบริการเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการ ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และเป็นบริการที่มีคุณภาพ โดยทุกคนต้องได้รับการตรวจเลือดประจำปีอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจากผลการตรวจเลือดในปีที่ผ่านมา ยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค สาเหตุจากผู้ป่วยยังมีปัญหาด้านพฤติกรรมการบริโภคไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ระดับความรุนแรงของโรค  และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นได้  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้ายน้อย ให้ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วย จึงจัดทำโครงการเติมยาเติมใจผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือดประจำปี และได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตน

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย ได้รับการตรวจเลือดประจำปี และได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตน

0.00
2 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยได้รับความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 63 - 30 ต.ค. 63 1. ค่าอาหารว่างผู้ป่วยตรวจเลือดประจำปี 100 2,500.00 2,500.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร 0 1,800.00 1,800.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 3. ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมอบรม 0 5,000.00 5,000.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 4. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 7,500.00 7,500.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 7.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 0 518.00 518.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 5. ค่าสมนาคุณวิทยากร 0 3,600.00 3,600.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 6. ค่าวัสดุสำนักงาน ใช้สำหรับการอบรม 0 2,000.00 2,000.00
รวม 100 22,918.00 7 22,918.00

1.เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ 2.จัดทำกิจกรรมตามแผนดังนี้ 2.1 ตรวจเลือดประจำปีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.2 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนฯ ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย ได้รับการตรวจเลือดประจำปี และได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตน
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อสามารถนำไปพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรค มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 15:24 น.