กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L3348-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอมรรัตน์ ไข่เศษ
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย มะเร็งที่พบมากในเพศหญิงคือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ พบช่วงอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป แต่อาจพบได้ในคนที่อายุน้อย เช่น ๒๐ ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีคู่นอนหรือมีสามีหลายคน หรือมีสามีที่มีความสำส่อนทางเพศ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ การป้องกันตัวเองจากมะเร็งปากมดลูกสำหรับเพศหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ ๓๐ ปีขึ้นไป โดยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap test) ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV ส่วนเพศหญิงที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๙ – ๒๖ ปี ควรฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก     จากข้อมูลจากสถิติสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๖๑ สถานการณ์โรคมะเร็งในภาคใต้พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่จำนวน ๑๐,๓๒๒ รายต่อปี แบ่งเป็น เพศชาย ๔,๕๓๕ รายต่อปี เพศหญิง ๕,๗๘๘ รายต่อปี พบว่าเพศหญิงป่วยโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ ๙๐๑ รายต่อปี รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๗๓๘ รายต่อปี เมื่อประมาณการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในแต่ละปี พบว่าในภาคใต้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง จำนวน ๗,๐๑๘ รายต่อปี จากผลการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    บ้านทุ่งชุมพล พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๖๒ ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ - ๖๐ ปี พบว่าได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๔๙๖ ราย จากจำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด ๗๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๖๗ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์และผลการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จำนวน ๘๓๔ ราย จากจำนวนทั้งหมด ๘๗๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๗๗ พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ๒ ราย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ๒ ราย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและอันตรายของโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล จึงได้ดำเนินการโครงการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี ๒๕๖๓ โดยจัดอบรมให้ความรู้ตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ – ๖๐ ปี เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รู้จักป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้

สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี  มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม  รู้จักป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ

1.00
2 สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

1.00
3 สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมผิดปกติ ทุกคนได้รับการส่งต่อ

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมผิดปกติ  ได้รับการส่งต่อร้อยละ ๑๐๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 25,250.00 0 0.00 25,250.00
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ให้ความรู้ เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 150 25,250.00 - -
รวมทั้งสิ้น 150 25,250.00 0 0.00 25,250.00

๑. สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ที่ยังไม่มีประวัติการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกภายใน ๕ ปี ๒. ร่วมประชุมกับ อสม.และเครือข่ายสุขภาพวางแผน  และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๓. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี ๒๕๖๓ ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนการออกปฏิบัติงานของหน่วยบริการผ่านหอกระจายข่าว ของแต่ละหมู่บ้าน ๕. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
๖. แต่งตั้งทีมสุขภาพให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๗. ลงบันทึกข้อมูลตามระบบ โปรแกรม JHCIS
๘. ส่งผู้ป่วยที่ผลคัดกรองผิดปกติ เพื่อรับการรักษาต่อ ๙. ติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยรายเก่าและที่ค้นพบรายใหม่ ๑๐. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ จัดทำรายงานผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รู้จักป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่จะทำให้เกิด โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมผิดปกติ ทุกคนได้รับการส่งต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 16:17 น.