โครงการเยี่ยมแม่ดูแลลูก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓
ชื่อโครงการ | โครงการเยี่ยมแม่ดูแลลูก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ |
รหัสโครงการ | 63-L3348-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 13,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมยุรี แก้วฉีด |
พี่เลี้ยงโครงการ | เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.831,99.78place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้การดำเนินงานอนามัยแม่เด็กเป็นนโยบายสำคัญซึ่งมีเป้าหมายคือลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปัญหาสุขภาพของมารดาและทารกมักเกิดขึ้นบ่อยหรือแสดงให้เห็นในช่วงระยะสัปดาห์หลังการคลอด สำหรับด้านมารดาปัญหาประกอบด้วยภาวะตกเลือดหลังคลอด ไข้ และการติดเชื้อ อาการปวดท้อง ปวดหลัง พร้อมๆกับปัญหาทางด้านจิตใจและสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทารกมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด การเยี่ยมบ้านโดยบุคคลากรทางด้านสาธารณสุข หรือ อาสาสมัคร ในระยะแรกหลังคลอดอาจจะป้องกันปัญหาด้านสุขภาพซึ่งจะกลายเป็นผลกระทบระยะยาวต่อมารดา ทารกและครอบครัวได้
จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ พบว่า ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้า (อายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์) ซึ่งส่งผลให้การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ไปด้วย มารดามีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า ๒๐ ปี มีการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดูแลสุขภาพติดตามเยี่ยมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ครรภ์เสี่ยงและหญิงหลังคลอด จำนวน ๓๐ คน ๑. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที ๓. หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที |
1.00 | |
2 | สามารถนำการปฏิบัติงานจากโครงการมาบันทึกเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการดำเนินโครงการสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพรายบุคคลได้ |
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 30 | 13,000.00 | 0 | 0.00 | 13,000.00 | |
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | จัดอบรมให้ความรู้และเยี่ยมติดตาม | 30 | 13,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 30 | 13,000.00 | 0 | 0.00 | 13,000.00 |
๑. ประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครเยี่ยมบ้าน หมู่ละ 2 คน ๒. จัดเตรียมเอกสาร เนื้อหาสาระสำคัญการเตรียมตัวการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ การปฏิบัติตัวหลังคลอด และการดูแลทารกหลังคลอด ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และแกนนำอสม.ในงานอนามัยและเด็ก เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และการดูแลมารดา/ทารกหลังคลอด ส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล ๔. ออกติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ครรภ์เสี่ยง และเยี่ยมมารดาหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของมารดาและทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย ๖ เดือน และอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ๕. ออกประเมินเชิงรุก หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์ มอบอาหารเสริมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพต่อไป ๖. ประเมินผลการดำเนินโครงการและสรุปโครงการ
๑. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที ๓. หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2563 10:25 น.