โครงการพัฒนาทักษะกายใจผู้สูงอายุ ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาทักษะกายใจผู้สูงอายุ ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L3348-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 15,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชม บุญชูดำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.831,99.78place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการแพทย์และการสาธารณสุขมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนยืนยาวขึ้นทำให้จำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่การสื่อสารที่ฉับไวทั่วถึงทุกมุมโลกส่งผลให้จิตใจของคนเปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมมีปัญหาทางสังคมบุตรหลานแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปัญหาทางร่างกายของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนแปลงจากที่เคยแข็งแรงทำงานได้ก็ไม่แข็งแรงทำงานน้อยลงมีผลถึงภาวะเศรษฐกิจต้องกลายเป็นผู้พึ่งพิงบุตรหลานหรือบางคนขาดการช่วยเหลือดูแลมีปัญหาทางด้านจิตใจเช่นไม่ได้รับการเคารพนับถือจากผู้เยาว์ขาดอิสรภาพส่วนบุคคลเป็นคนไม่ทันเหตุการณ์ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้นผู้สูงอายุปรับตัวปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตนี้ตามมารวมทั้งเป็นวัยแห่งการเสื่อมโทรมทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตนำไปสู่ภาวะพึ่งพาและทุพพลภาพความต้องการการดูแลมากขึ้น การส่งเสริมสุขภาพนับว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุความเสื่อมของอวัยวะต่างๆทุกระบบทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังตามมาทำให้ผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคมตลอดจนประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลและรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย มีแนวความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวสังคมในด้านการรักษาพยาบาล โดยในปีงบประมาณ2563 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะกายใจผู้สูงวัยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในนิคมฯ บ้านลานข่อย เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้นโดยมีแกนนำผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยงข้อง เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80 |
1.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ร้อยละ60 |
1.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีจากการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สูงอายุได้เสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีจากการเข้าร่วมกิจกรรม |
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 15,900.00 | 0 | 0.00 | 15,900.00 | |
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | อบรมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ | 50 | 15,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 15,900.00 | 0 | 0.00 | 15,900.00 |
1 ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ
1.2 ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
1.3 นำเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
2 ขั้นดำเนินการ
2.1 เชิญกรรมการชมรมผู้สูงอายุ และบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจง และร่วมเสนอความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ
2.2 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานตัวแทนจากผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านและผู้นำ ชุมชน
2.3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้ที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ
2.4 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
3 ขั้นการประเมินผลงานและกิจกรรมประเมินผลกิจกรรมการดำเนินงานโดยประเมินจาก
3.1 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3.2 การดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
3.3 สรุปผลการดำเนินโครงการ
1ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความสุขและสนุกสนานจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม
2ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจสมบูรณ์ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม
3ชุมชนให้ความสนใจในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งและทำให้ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2563 11:05 น.