กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คอหงส์ 1 ห่างไกลไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L7257-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคอหงส์ 1
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,904.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัญดา ติ้งเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.พ. 2564 31 ส.ค. 2564 35,904.00
รวมงบประมาณ 35,904.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ซึ่งมียุงเป็นพาหนะนำโรค มักพบการระบาดช่วงฤดูฝนและมีการเจ็บป่วยกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ข้อมูล ณ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,436 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 101.92 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย โดยพบในเพศชาย 753 ราย เพศหญิง 683 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.10 : 1 โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 332.18 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 – 9 ปี,15 – 24 ปี,0 – 4 ปี,25– 34 ปี,35– 44 ปี,45– 54 ปี,55– 64 ปี,65 ปีขึ้นไป อัตราป่วยเท่ากับ255.28,177.43,109.63,75.27,39.25,30.45,22.76 และ 17.55 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ สำหรับเทศบาลเมืองคอหงส์ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ ปี 2561 คิดเป็นอัตราส่วน 291.24 ต่อประชากรแสนคนเขตชุมชนบ้านคอหงส์ 1 มีประชากร 130 ครัวเรือน ประชากร 4,795 คน ปี 2561 และปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 31 ราย การดูแลและป้องกันโรคไข้เลือดออก ณ ปัจจุบัน มุ่งเน้นการป้องกันและควบคุมเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ โดยอาศัยความร่วมมือของภาครัฐ สนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ อุปกรณ์ และเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินโครงการแต่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของชุมชน ก็คือประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนนพื้นที่ ต้องให้ความร่วมมือเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นอสม.ชุมชนบ้านคอหงส์ 1 จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือกออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยสร้างความเข้าใจตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนบ้านคอหงส์ 1
  1. ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบริเวณบ้าน (House Index = 0)
0.00
2 เพื่อส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย
  1. มีครัวเรือนต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อย 20 ครัวเรือน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,904.00 0 0.00
3 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจ คัดเลือกครัวเรือนนำร่อง 0 750.00 -
3 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 อบรมแกนนำครอบครัวต้นแบบเครือข่ายชุมชนบ้านคอหงส์ 1 ต้านภัยไข้เลือดออก 0 10,540.00 -
3 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 22,864.00 -
3 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปโครงการ 0 1,750.00 -
  1. ร่วมประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีดำเนินงานโครงการ

- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ที่ประชุมผู้นำชุมชน พร้อมคัดเลือกตัวแทนครอบครัว
3. ประชุมสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน และในที่ประชุมระดับชุมชน
4. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับครัวเรือน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้
5. ร่วมกับ อสม. และนักเรียน ภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมจำนวน 80 คน ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านและลงไปสำรวจลูกน้ำยุงลาย  ทุกบ้าน กำหนดระยะเวลา 4 เดือน จำนวน 16 สัปดาห์ รณรงค์ทุกวันศุกร์ ระยะเวลา ครึ่งวันเช้า/บ่าย โดยมีการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำทุกสัปดาห์ และหยอดทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ 2 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประมเนความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย
6. ประชุมพูดคุยผลการคัดเลือกบ้านค้นแบบเพื่อมอบสติ้กเกอร์ “บ้านหลังนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย” พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
7. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้าน และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2563 23:51 น.